Friday, December 31, 2004

[Tech] Porting Mozilla Mail

After copying the 'Mail' directory in its entirety to new Mozilla profile directory, we create the account and then make directory remapping to the 'Mail' folder we just copy. Normally, directory remapping consists of 'Local Folder' and some mail account.

Note that in Mozilla, if you create new profile, you can select profile directory to else where; no need to stick to Documents and Settings directory.

[Tech] PSU Thai Club FTP at Ace-Host.net Server

When using FileZilla, the IP address for FTP is
65.254.55.114.

Tuesday, December 28, 2004

[Tech] Installing PHP on Apache

Tonight, it costs me more than an hour to install PHP on Apache system.
So, I'd like to make a conclusion about the process.

1. Unzip the php zip package to C:\php_4.3.10

2. Copy all stuff in "C:\php_4.3.10\dlls" and "C:\php_4.3.10\sapi" to its root, C:\php_4.3.10 The step 2 is very important, I really wonder why php guys put the files in there.

3. Modify php.ini to include folder that will contain php project files (the file that web server will executes) . The php.ini comes from renaming "php.ini-recommended" to php.ini. The location of the command is in the line beginning with doc_root = c:\apache\htdocs.

4. Modify httpd.conf in Apache directory. There are 3 lines for this step.
PHPIniDir "C:/php_4.3.10"
LoadModule php4_module "C:/php_4.3.10/php4apache2.dll"
AddType application/x-httpd-php .php

Note that in LoadModule the location of file is different in the manual and that costs me an hour to find out the fact.

Good Luck.

Wednesday, December 22, 2004

[Tech] GetLeft--A teleport pro alternative

I tested GetLeft by downloading Dr. Hannan's web. I set depth too much (4) so it downloaded much more than I had expected. I should set the value small because CSE web is also counted as internal link. The package, hence, consists of many parts of CSE web and Hannan's CSE520 web material.

GetLeft worked very well anyway. I highly recommend it.
You can download it from SourceForge web site.

Monday, December 06, 2004

[Tech] เกี่ยวกับการ include file ใน C++

โปรเจ็ควิชา Computer Graphics สอนเราไปหลายอย่างเลยนะ เกี่ยวกับเรื่องการคอมไพล์โดยเฉพาะ header file
เราสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ลำดับของไฟล์ที่ถูกคอมไพล์มีความสำคัญ
ที่มันมีความสำคัญขึ้นมาก็เพราะว่า เราไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า ไฟล์ใดได้รับการ include เข้าไปแล้วบ้าง ทำให้นิยามบางอย่างยังไม่ปรากฏ ดังนั้น บางทีเราก็ต้องทำการ include ของต่างๆเข้าไปบ่อยๆในหลายๆไฟล์

2. ไม่สามารถที่จะ include ซ้ำกันในไฟล์อื่นๆได้
เพราะจะทำให้นิยามของสิ่งเดิมถูกเรียกซ้ำ ส่งผลให้มีนิยามของสิ่งเดียวกันอยู่ใน translation unit มากกว่าหนึ่งอัน (redefinition) แต่อย่างที่ได้เขียนไว้ในข้อหนึ่งลำดับการคอมไพล์มีความสำคัญ ทำให้เรามีความต้องการที่จะ include บ่อยๆไปทุกที่ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็รู้ว่า เรายอมให้ซ้ำไม่ได้

3. วิธีแก้ปัญหาของ 1 และ 2 ในคราวเดียวกัน
สามารถทำได้โดยยึดตามแนวทาง 1 เป็นหลัก กล่าวคือ include ซ้ำไปเถอะ แล้วให้เราไปแก้ที่ header file ให้ป้องกันการนำนิยามของตัวเองไปใส่ที่ translation unit ซ้ำ ซึ่งสามารถทำได้โดย
3.1. ในกรณีที่คุณใช้ MS Visual C++ version ใหม่ๆ สามารถทำได้ง่ายด้วยไดเรกทิฟ #pragma once
3.2. สำหรับคอมไพลเลอร์อื่นๆควรใช้วิธีมาตรฐานคือ ในตอนต้นของ header file ให้ใส่ไดเรกทิฟเกี่ยวกับการนิยามเข้าไปว่า
#ifndef INC_FILENAME_H //ไอ้ INC_FILENAME_H นี่จริงๆแล้วจะเป็นอะไรก็ได้ ขอแค่อย่าให้ไปซ้ำกับชาวบ้านก็พอ
#define INC_FILENAME_H

จากนั้น ก็ใส่เนื้อหาของ header file เข้าไปแล้วจบลงด้วย
#endif

Thursday, December 02, 2004

[Dhamma] เรื่องเปรียบเทียบชีวิต วิญญาณ กับ ภรรยาของเศรษฐี

นสมัยพุทธกาล พ่อค้ามหาเศรษฐีคนหนึ่งมีภรรยาสี่คน

เขาหลงรักภรรยาคนที่สี่มากที่สุด จึงมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้เธอ
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามหรืออาหารโอชะ

ขณะเดียวกัน เขาก็รักภรรยาคนที่สาม
ภาคภูมิใจในตัวเธอมาก และมักจะนำเธอไปอวดแก่เพื่อนฝูงอยู่เนืองๆ

แต่พ่อค้าก็อดกลัวไม่ได้ว่า วันหนึ่งข้างหน้าสาวเจ้าอาจจะหนีตามชายอื่นไป
เขามีความรักให้ภรรยาคนที่สองด้วยเช่นกัน...
เธอผู้นั้นเป็นคนเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีน้ำอดน้ำทน
และเป็นภรรยาที่พ่อค้าสามารถไว้วางใจได้เสมอ
โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคปัญหาใดก็ตาม
พ่อค้าก็จะหันหน้าไปปรึกษาภรรยาผู้นี้
ซึ่งเธอก็ช่วยเหลือเขาด้วยดีมาโดยตลอด

ฝ่ายภรรยาคนแรกนั้นเป็นคู่ชีวิตที่มั่นคงต่อสามี
ทั้งยังได้อุทิศตัวสอดส่องดูแลธุรกิจ ตลอดจนเรื่องภายในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
แต่อนิจจาพ่อค้ากลับไม่ได้รักตอบ รวมทั้งไม่ค่อยจะไยดีเธอสักเท่าไร

วันหนึ่ง เมื่อพ่อค้าล้มป่วยลง
รู้ว่าตนเองจะต้องจบชีวิตลงในไม่ช้า
เขาก็นึกถึงชีวิตอันแสนสุขที่ได้ผ่านมา
และอดรำพึงรำพันกับตัวเองไม่ได้ว่า

เราเองมีภรรยาถึงสี่คนที่รักเรา และเราก็หลงใหลพวกหล่อนมากก
แต่เมื่อถึงคราวที่จะต้องตายลง เราก็ต้องโดดเดี่ยวเอกา...
คิดได้ดังนั้น.......... เขาจึงตามภรรยาคนที่สี่มาเพื่อสอบถามว่า

ข้ารักเจ้ามากที่สุด และที่ผ่านมา
ข้าก็ได้มอบผ้าผ่อนแพรพรรณอันงดงามให้แก่เจ้า ดูแลเจ้าเป็นอย่างดี...
แต่ตอนนี้ข้ากำลังจะตาย เจ้าคิดจะตาย ตามข้าหรือเปล่า
(คนอินเดียสมัยพุทธกาลถ้าสามีตาย ภรรยาจะต้องกระโดดไฟตายตาม)
ไม่มีทาง หล่อนตอบ แล้วก็จากไปโดยไม่กล่าวอะไรอีก
อนิจจา............
คำตอบนั้นช่างเปรียบเหมือนคมมีดกรีดเฉือนหัวใจพ่อค้าเลยทีเดียว

แล้วพ่อค้าเจ้าทุกข์ก็ถามคำเดียวกันนี้กับภรรยาคนที่สาม
คำตอบนี้คือ ไม่!
ถึงตอนนี้พ่อค้ากลับรู้สึกเหน็บหนาวร้าวลึกในหัวอก

เขาพูดกับภรรยาคนที่สองว่า
ข้ามักจะหันหน้าไปหาเจ้าเสมอ เมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อน
และเจ้าก็สามารถช่วยข้าได้ทุกครา
ถึงตอนนี้ข้าต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าอีกครั้ง
เมื่อข้าตายลงเจ้าจะยอมตายตามข้าหรือไม่
ขอโทษที่ครั้งนี้ข้าไม่อาจช่วยท่านได้
อย่างมากที่สุดข้าก็จะอยู่จัดการเรื่อง ฌาปนกิจให้ท่านเท่านั้น
คำตอบนั้นเหมือนสายฟ้าฟาด ทำให้พ่อค้าถึงกับตะลึงงัน

ข้าจะอยู่กับท่านเสมอ จะติดตามท่านไปไม่ว่าจะเป็นที่ใด
นี่เป็นคำตอบของภรรยาคนที่หนึ่ง ผู้ที่กำลังยืนอยู่เบื้องหน้าเขา
บัดนี้หล่อนดูซูบลงมาก เนื่องมาจากไม่ค่อยได้รับอาหารที่มีคุณค่า
พ่อค้าตอบไปด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้งว่า

ข้าควรจะดูแลเจ้าให้ดีกว่านี้...


ฉะนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

ภรรยาคนที่สี่เปรียบเสมือนร่างกายของเรา
ไม่ว่าเราจะพยายามดูแลให้ดีสักเท่าไรก็ตาม มันก็ไม่จีรัง ขณะที่
ภรรยาคนที่สามเปรียบได้ดั่งอาชีพการงาน สถานะทางสังคม และความร่ำรวย
เมื่อเราตาย ทรัพย์สินก็ย่อมจะตกไปอยู่กับคนอื่น
คิดหรือว่าคนอื่น ๆ เขาจะไม่มาเอาฐานะตำแหน่งของเราไป...

ภรรยาคนที่สองก็คือครอบครัวและเพื่อนๆ ของเราอง
แม้เราจะได้อยู่ด้วยกันยามมีชีวิต
แต่ถึงที่สุดแล้ว เขาจะอยู่กับเราได้อย่างมากที่สุดก็ในงานฌาปนกิจ...

ส่วนภรรยาคนแรกนั้นก็คือจิตวิญญาณของเรา
ที่มักจะถูกละเลยลืมเลือน...
เพราะเรามัวแต่ให้ความสนใจกับวัตถุ และความทุกข์ทางกามารมณ์
ขณะที่จิตวิญญาณนั้นเป็นสิ่งเดียวที่จะติดตามเราไปทุกที่