Wednesday, August 08, 2007

การใช้ฟอนต์ที่ลิขสิทธิ์ไม่ได้ติดมากับวินโดวส์

(Aug 8, 2007)

การจะใช้ฟอนต์ไทยในระบบปฏิบัติการอื่นนั้น แต่ก่อนเรามักจะคัดลอกฟ้อนต์จากวินโดวส์ไปใส่ ซึ่งหากเราไม่ได้มีวินโดวส์อย่างถูกกฎหมาย การคัดลอกฟอนต์ก็มักจะไม่ถูกกฎหมายตามไปด้วย วิธีแก้ปัญหานี้ก็คือใช้ฟอนต์ไทยที่ได้เค้าแจกให้เราใช้กันได้อย่างอิสระ เช่น ฟอนต์จากเนคเทค และ http://f0nt.com/ (หลังตัว f ที่จริงเป็นเลขศูนย์ ไม่ใช่ตัวโอ) เป็นต้น

ส่วนเรื่องที่จะเขียนในที่นี้ จะเจาะจงการใช้ฟอนต์การูด้า (Garuda) ซึ่งเป็นฟอนต์ที่หน่วยงานราชการไทยเลือกใช้ และฟอนต์ Tlwg Typist ซึ่งเป็นฟอนต์แบบความกว้างคงที่ทั้งสองภาษา (ใช้งานได้ฟรีเช่นกัน) และเราก็สามารถไปดาวน์โหลดได้จาก http://linux.thai.net/ (ดูตรงหัวข้อ ThaiFonts-Scaleable)
หลังจากทดลองใช้ในการพิมพ์ในไมโครซอฟต์เวิร์ดดูก็พบว่า ขนาดฟ้อนต์การูด้าที่ควรใช้คือ 12 เพราะขนาดจะกำลังค่อนข้างใหญ่ อ่านง่าย ดูเป็นมิตร แต่ถ้าต้องการให้มันดูเป็นวิชาการมากขึ้นก็ควรลดขนาดลงเหลือ 10 ส่วนขนาดฟอนต์ของ Tlwg Typist นั้นถ้าจะให้จับคู่กับการูด้าขนาด 12 ก็ควรจะเป็นขนาด 14 เพราะฟอนต์ Tlwg Typist นั้นเล็กกว่าการูด้าเล็กน้อย (ประมาณสองจุด) และถ้าจะให้จับคู่กับฟอนต์การูด้าขนาด 10 ก็ควรจะเลือกใช้ฟอนต์ Tlwg Typist ขนาด 12

สำหรับการเซ็ตขนาดฟอนต์เพื่อใช้พิมพ์ในเวิร์ด เราก็ควรทำในลักษณะรูปแบบแม่แบบ (Template Style) ซึ่งก็ทำได้จาก Format->Styles and Formatting จากนั้นก็ให้เลือก New Style ... และกำหนดให้ Save to Template เพื่อสร้างรูปแบบแม่แบบที่ต้องการไว้ใช้ในคราวต่อๆไปด้วย

สำหรับการเซ็ตขนาดฟอนต์เพื่อใช้พิมพ์ในโอเพนออฟฟิศ เราควรตรวจดูก่อนว่า CTL ที่เห็นเป็นภาษาไทยหรือเปล่า ซึ่งทำได้ที่ Tools->Options::Language Setting->Languages เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็ให้ไปที่ Tools->Options::OpenOffice.org Writer->Basic Fonts (CTL) นอกจากนี้หากเราต้องการตั้งค่าต่างๆให้เป็นรูปแบบแม่แบบเช่นเดียวกับที่ทำในเวิร์ด เราก็ทำได้ที่ Format->Styles and Formatting ที่แถบเมนูข้างบนในลักษณะเดียวกับที่เราทำในเวิร์ด