- สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
- สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ ดู สมถะ
- สมณะ ผู้สงบ หมายถึงนักบวชทั่วไปแต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายจำเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาป ได้แก่ พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อระงับบาป ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล
-
กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน) ดู ภาวนา - subjects of meditation; meditation exercises; the act of meditation or contemplation; ground for mental culture.
กัมมัฏฐาน ๔๐ คือกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔
- อนุสติ ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๒) ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๓) สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๔) สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕) จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖) เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรม ๘) กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม ๙) อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐) อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน
- อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ ๑) กามราคะ ความกำหนัดในกาม ๒) ปฏิฆะ ความหงุดหงิด ๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด ๔) วิจิกิจฉา ความลังเลสัยสัย ๕) มานะ ความถือตัว ๖) ภวราคะ ความกำหนดในภพ ๗) อวิชชา ความไม่รู้จริง
- สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
Tuesday, June 14, 2005
ธรรมะ: คำศัพท์ที่น่าสนใจในพุทธศาสนา
อ้างอิงจาก http://www.dhammalife.com/dhamma/vocab/
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment