Monday, December 26, 2005

Dharma: Offering and Vow before Meal

I make offerings to the Buddha.
I make offerings to the Dharma.
I make offerings to the Sangha.
I make offerings to all sentient beings.

I vow to deliver numerable sentient beings.
I vow to cut off endless vexation.
I vow to master the limitedless approaches to Dharma.
I vow to attain supreme buddhahood.

Computer: Testing drive compression on Windows XP

Dec 26, 2005:

I am testing drive compression on my new Hitachi hard drive. At this moment, I found that it works quite well and very efficiently.

I copy 2.53GB of data from my trusty Maxtor to the new Hitachi drives. The size on the uncompressed Maxtor drive is 2.57GB (Figure 1), but the size on the compressed Hitachi drive is only 2.22GB (Figure 2). The side effect is the cost for CPU overhead. During copying, CPU usage is virtually 100%. The drive with compression will be shown with blue label, while the common ones are in the block label (See figure 3).

Figure 1. Size on uncompressed volume is 2.57GB, which is larger than the size of data.

Figure 2. Size on compressed volume, which is smaller than the size of data.

Figure 3. Label of a compressed volume is blue, while others are black.

Experiment about copying time was conducted too. I copied about 2.53 GB of data from an USB uncompressed hard drive to a Firewire hard drive. The Firewire drive was uncompressed for the first phase of copying experiment. Then the same Firewire drive was compressed to perform the second phase of copying experiment. The first phase of copying finished in 5:01 minutes, while the second phase spended up to 6:29 minutes. The space was saved by 13.6%, but writing time increased by 29.2%. This implies that for the test data, it is not a big deal to use compressed volume to save disk space unless we are really run out of space.

I may stop using this feature if I am going to use the new hard drive as a main one. At this point, I am testing the new drive, along with its Firewire interface, to find if the new solution is reliable, but is faster than my old solution. A faster hard drive, will be the main one, and the slower one will be a backup one.

Computer: Enclosure Issues

Dec 26, 2005:
I obtained a new Syba enclosure a few days before, and it causes so many problems First, it corrupts data on my trusty Maxtor hard disk. Second, the fan is surprisingly noisy. I found out later that the fan itself is not very noisy, but the fan along with airflow rushing into the enclosure is very noisy. Third, LEDs do not work. Again, I found out later that workers at assembly lines do something wrong or document is not accurate, since I need to flip the direction of LED power line to make it works correctly.

I need to go back to use the old enclosure for my trusty hard drive.

At this moment, I bought a new Hitashi Deskstar 7K250 hard drive (160GB/IDE interface) to use with the new enclosure. I am testing if it can work correctly with my new hard drive. My trusty Maxtor might not work with this new Syba enclosure just because I enabled delayed write feature for it. I need to wait and see.

Dec 26, 2005:
Okay, I now realize that the issue about delayed write of this enclosure persists and I need to switch to use quick removal optimization mode. The performance is dropped by about 20%. Referred by my next post, a test on the same data takes 6:26 minutes for uncompressed volume with no delayed write.

So, the new hard drive will be used as a backup volume. I also plan to make it a CVS repository.

At this point, I have two things to do with my hard drive before building a ghost image for a hard drive:
1. Install Matlab toolbox.
2. Get key for dictionary.

Friday, December 23, 2005

Study: Going to finish Exam A preparation

รู้สึกว่าพลังฝึกปรือเริ่มได้ที่ตอนนี้คงเหลือแค่เขียนสรุปอีกเล็กน้อยแล้วก็ช่วยแหละคุณ Sandra นิดหน่อยก็น่าจะผ่านได้ค่อนข้างแน่ ดังนั้นขอสรุปสิ่งที่ต้องเขียนและศึกษาเพิ่มเติมสักเล็กน้อย

  • Algorithm part
    1. ศึกษาปัญหาของ dynamic programming ตรงส่วนที่เป็น final exam อีกครั้งแล้วบันทึกบทสรุปออกมา

    2. ศึกษาคุณสมบัติของกราฟอัลกอริทึมแบบต่างๆ โดยเฉพาะ running time และเงื่อนไขของ applicability ของแต่ละอัลกอริทึม

  • Programming language part
    1. Lamda calculus
    2. Function activation record mechanism
    3. Concurrency in Java

Monday, December 19, 2005

Life: ไปให้ถึงที่สุดของความอดกลั้น

Dec 19, 2005:
เรานึกถึงเรื่องราวของตัวเองที่ Retreat Center แล้วเราพบว่า เพราะตอนนั้นเราไปถึงที่สุดของความอดทน ทำให้เราได้ของขวัญมาอย่างหนึ่งคือความไม่เมื่อยล้าในเวลานั่ง. ทำให้ในเวลานี้เรานึกเพิ่มเติมต่อไปว่าถ้าเราจะไปให้ถึงที่สุดของความอดกลั้ นคือความละเว้นจากความบันเทิงทั้งมวลและการเสพสุขทั้งมวลแล้วเราจะได้อะไรเป ็นของขวัญ เราจะลองทำดู ในเมื่อพระพุทธเจ้าบอกไม่ให้เสพกามเราก็จะลองทำดู ที่ retreat center เราอดทนด้วยศรัทธาอันแรงกล้า ในเวลนี้เราก็จะอดกลั้นด้วยศรัทธาอันแรงกล้าเช่นกัน. อันปัญญาของเรามีเพียงเท่าเศษธุลีอวกาศ เราคงต้องดันตัวเองจากความเชื่อก่อนไม่งั้นคงไปได้ไม่ไกลนัก.

(หมายเหตุ กามหมายความรวมคือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ได้เจาะจงอยู่ที่เรื่องเพศเท่านั้น)

Computer: Software in my Computers

Dec 19, 2005:
ตอนนี้คิดจะทำการฟอร์แมตเครื่องเพื่อล้างวินโดวส์ใหม่ ก็เลยต้องการทำรายการซอฟต์แวร์ที่ต้องลงแน่ๆ พร้อมๆกับหมวดหมู่ของซอฟต์แวร์ต่างๆในเครื่อง พร้อมๆกับรายการแบ็คอัพ เราจะทำการเปลี่ยนโครงสร้างพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ให้เป็นแบบพาร์ติชันเดียว แล้ว เพราะพาร์ติชันอันที่สองที่สามก็มีอยู่ที่ฮาร์ดิสก์แบบภายนอก

  • รายการแบ็คอัพ
    1. Mail and favorites in Mozilla
    2. Thesis (this portion will not be formatted though)
    3. Personal Web
    4. Thai Student Association Web
    5. My Documents
    6. Testing Ground
    7. Work Partition
    8. Droplet Recognition
    9. VFX
    10. Candidacy Note (included in Personal Web Actually)
    11. Files for Prolog and ML
    12. Java project files

  • รายการซอฟต์แวร์แบ่งตามหมวดหมู่
    1. Dictionaries
      • Stedman's medical dictionary
      • Cambridge's advanced learner dictionary
      • Longman's dictionary of contemporary English
      • Random house
      • So Sethabutr's dictionary
      • WordWeb

    2. Communication
      • Secure Shell Client
      • Mozilla
      • Firefox Thai
      • MSN
      • Cisco VPN
      • Filezilla
      • Humming Bird
      • Cygwin

    3. Programming and Research
      • Studio (3D Viewer)
      • Virtual Navigator and ROI Surface Writer
      • Studio 8 (Macromedia's)
      • Visual Studio .Net 2003
      • Eclipse
      • CVS (not now, use unmanaged snapshot may be better)
      • jEdit
      • Apache Webserver
      • PHP engine
      • Prolog
      • ML

    4. Entertainment
      • Napster
      • Windows media player latest version
      • iTune
      • Arcsoft Showbiz
      • QuickTime
      • Power DVD

    5. Document Tools
      • WinEdt and MikTex
      • OpenOffice.org 2.0
      • Microsoft Office 2003
      • GIMP
      • Dia
      • PDF Creator
      • PDF 995
      • PDF Blender
      • GhostScript
      • GhostView
      • Adobe Acrobat (via Adobe Creative Suite 2)
      • Doxygen

    6. Utilities
      • DVD Writer
      • FileAnt (File Explorer)
      • NetAnt
      • GetLeft
      • 7-zip
      • Samsung driver and utilities


Computer: Firewire Enclousure

On Wednesday night Dec 14, 2005, Jua came to my apartment and tried to download his robotic vehicle movie from video camera to a disk. At first, it is expected that my laptop could not do the job since it has only 4-pin Firewire interface, but the connector line from the camera had 6-pin interface. However, I realized that my DVD writer enclosure came with Firewire interface and can be connected to other products in a serial manner. Plus, the connector in my enclosure is 6-pin interface. So, I connect the camera through my enclosure and got that job done.

The bottom line is if your enclousure has Firewire interface, you can use it as a Firewire convertor as well. This can add value to your enclosure.

Today (Sunday Dec 18, 2005), I just bought a new enclosure for my hard disk to give it Firewire interface instead of USB 2.0, because Firewire gives more bandwidth, even though its theoretical bandwith is lower than USB 2.0. I think I will connect my devices-- hard drive and DVD drive-- through Firewire instead.

Computer: Disc Publisher


I got an advertisement about Disc publisher (CD/DVDs copier and printer) from Rimage. It is quite interesting product, esp. for a small software company or any organization that may publish some media at small scale (less than 1000 copies). Their products offer all-in-one solution--duplicator and printer (both text and images). Plus, we can input them 100 discs for a single job. Hmm, it's a good idea to use it for public presentation.

Tuesday, December 06, 2005

Study: News about CAS

I read news about Computer Aided Surgery from manager.co.th; however, I still do not know its technique to mark target area. Actually, I write this blog just to keep the link here for later reference:
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000167345

Saturday, December 03, 2005

ชีวิต: เรื่อง รถโฆษณาในรัฐพ่อค้า โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

เป็นอีกบทความที่ยอดเยี่ยมของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่แสดงให้เห็นว่าความคิดที่เป็นการเข้าข้างฝ่ายพ่อค้าและผู้มีเงินแท้จริงเ ป็นความคิดที่ฝังรากลึกอยู่ในระบบการดำเนินชีวิตของคนเราแม้ในที่ที่เราคิดไ ม่ถึง

ในบทความกล่าวเกี่ยวกับรถโฆษณาที่วิ่งช้าๆบนถนน มันถูกกระทำเพื่อประโยชน์ของพ่อค้า แต่ทำให้สังคมเสียผลประโยชน์ทั้งทางด้านเวลา และค่าน้ำมันที่ทุกวันนับแต่จะแพงขึ้นทุกทีๆ แต่เรากลับปล่อยให้กลุ่มพ่อค้าที่เป็นคนได้ประโยชน์จากรถโฆษณานั้นกระทำการต ่อไปเรื่อยๆโดยที่เราไม่ยอมปริปากออกมาคัดค้านกันเลย

เช่นเดียวกับคำ ขู่ของรํฐบาลที่ตำหนิคำวินิจฉัยของศาลตุลาการเกี่ยวกับการระง ับการขายหุ้น กฟผ. ว่าทำให้ตลาดหุ้นซบเซา แต่แท้จริงแล้วคนไทยที่อยู่ในตลาดหุ้นตามบทความของอาจารย์นิธินั้นมีน้อยกว่ า 0.25% ยิ่งไปกว่านั้น ความซบเซามันมาจากการที่พวกเก็งกำไรในระยะสั้นถอนหุ้นออกไป ซึ่งหุ้นพวกนั้นไม่ได้สร้างความแข็งแกร่งอะไรให้กับบริษัทหรือโรงงานเลย การที่คนพวกนั้นถอนหุ้นออกไปที่แท้ก็จะไม่กระทบกับภาพรวมทางเศรษฐกิจเลย แต่หลายคนในประเทศเรากับมาพะวงสนใจกับผลประโยชน์อันไม่ยั่งยีนของคนเพียง 0.25% โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบกับสังคมโดยรวมเลย

ส่วนที่สำคัญอีกอย่าง ของบทความก็คือ การพูดถึงการรักษาความเป็นชุมชนของชาวเชียงใหม่ที่นับวันจะหลงทางไปทุกที พวกเค้าพยายามรักษารถโฆษณาที่ไม่เข้ากับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่กลับไม่รักษาพวกประเพณียี่เป็ง งานปีใหม่ งานสวดมหาชาติ ให้เป็นของชุมชน กลับปล่อยให้มันกลายเป็นงานของ ททท. เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าอีกเช่นเคย เรื่องนี้เราก็พึ่งสังเกตว่าคนต่างชาติจะเข้าใจว่าของพวกนี้เป็นวิถีชีวิตขอ งชาวท้องถิ่น แต่ที่จริงความเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในชุมชนมันจางหายไปหมดด้วยการที่ประเ พณีถูกทำให้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการค้าและการท่องเที่ยวเท่านั้น

อ้างอิง
นิธี เอียวศรีวงศ์ มติชนสุดสัปดาห์ 2 ธ.ค. 2548 ฉบับที่ 1320 http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0414021248&srcday=2005/12/02&search=no

Thursday, November 24, 2005

Computer: ซ่อมคอมพี่ หนู อรอนงค์

Nov 17, 2005
วันนี้ซ่อมคอมพี่หนูทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างเพิ่มเติมคือ
1. ntfs.com มีโปรแกรมให้ดึงข้อมูลจาก partition ntfs ได้เลยโดยไม่ต้องบูตวินโดวส์
2. พึ่งเคยเห็น SMART มันทำงานเป็นครั้งแรกในชีวิต แต่ลองฟอร์แมตดูเราก็ยังไม่พบว่ามันมีอะไรผิดตรงไหน งง
3. บางครั้งฟอร์แมตไม่ได้ แต่ลบพาร์ติชินก่อนแล้วค่อยฟอร์แมตจะได้ ซะงั้ืน
4. HP ก็ทำพาร์ติชันเก็บไดรเวอร์เหมือนกัน ซึ่งพาร์ติชันพวกนี้จะถูกเก็บไว้เป็นพาร์ติชันแรก อย่าลบออกเป็นอันขาด

5. เวลาที่จะลงวินโดวส์ทับตัวเดิม มันจะขอให้เรา backup ข้อมูลก่อน ทางที่ดีอย่าทำเป็นอันขาด เพราะมันอาจจะไปฟอร์แมตอีกพาร์ติชันหนึ่งเพื่อทำการแบ็คอัพเอาดื้อๆ ถ้าจะทำให้ระวังตัวด้วย

6.
บางทีเครื่องมีการซ่อนน็อตเอาไว้เพื่อให้ดูสวยงาม ดังนั้นถ้าแกะไม่ออกก็ให้ดูดีๆว่ามีตรงไหนที่มีการใ้ช้ยางมาปิดไว้หรือเปล่า เพราะน็อตอาจถูกซ่อนไว้ในนั้น

Misc: Notepad++, jEdit, and UML stencil for Visio

Nov 23, 2005:
ไปเจอโปรแกรม Notepad++ ที่ Sourceforge มา เราพบว่ามันพับโค้ด XML ได้ด้วย ถ้าหากว่า Macromedia Studio 8 มันทำไม่ได้เราคงจะดาวน์โหลดไอ้ตัวนี้มาลองใช้ดู

jEdit เวอร์ชันปัจจุบันดูดีมาก แถมรู้สึกว่ามันยังพับโค้ด XML ได้ด้วย แต่ที่แจ๋วที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องที่ว่ามันสามารถทำการสร้าง XML Tree ให้เราได้ด้วย ดังนั้นคิดว่ามันต้องมีความสามารถเหนือกว่า Notepad++ แน่นอน

มี Visio stencil ที่ทำเองให้ดาวน์โหลดด้วย แสดงว่า ถ้าหากเราไม่ได้ซื้อ profession edition มาใช้ เราก็ยังสามารถว่า UML diagram ได้ ดาวน์โหลดที่ http://www.phruby.com/stencildownload.html

Wednesday, November 23, 2005

Computer: Hard disk planning

สำรวจ Hard disk มาเพื่อที่จะเตรียม format เมื่อจบภาคการศึกษา
1. รวม partition เป็นอันเดียวจะดีที่สุด เพราะ hard disk อีกตัวก็มีอีกสอง partition อยู่แล้ว

2. พบว่า program ที่อยู่ใน "Program Files" มีประมาณ 12GB ที่อยู่ข้างนอกก็คงมีไม่เกิน 3GB

3. ต่อไปโปรแกรมทุกอย่างจะต้องถูกลงไว้ที่ "Program Files". ใครไม่มี default path เป็น "Program Files" ก็ให้ลงไปที่ "ProgramFiles" ที่สร้างขึ้นมาใหม่. ส่วนสาเหตุที่ไม่เอาไปลงไว้ที่เดียวกันหมดก็เพราะว่ามันอาจจะมีโปรแกรมบางตั วที่มันไม่สามารถใช้กับ path ที่มี space ได้ซะงั้น.

4. ยังอยากจะใช้ CVS อยู่. ดังนั้น ตอนลง CVS ก็ให้มันใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ภายนอกเป็นที่เก็บละกัน.

5. มีแค่นี้แหละอย่างอื่นๆก็ไปจัดการทีหลังละกัน แต่ยังไงก่อนฟอร์แมตก็ต้องลิสต์ซอฟต์แวร์ที่จะลงก่อนว่ามีอะไรบ้างและจัดหมว ดหมู่ให้ดูเนี้ยบๆหน่อย

Computer: เรื่องหน้ารู้ที่พึ่งรู้

Nov 23, 2005:
เนื่องจากว่าเราคิดที่จะวางแผนซื้อคอมก็เลยรู้เรื่องอะไรต่างๆเพิ่มขึ้นมากมาย ที่น่าสนใจก็มีดังนี้
1. PCI Express กับ PCI X มันคนละตัวกัน
PCI Express มันจะไม่ compat กับ PCI แบบเก่าเลย และมันก็จะใช้ช่องสัญญาญแยกแต่ละอุปกรณ์เลย (dedicated bandwidth) นอกจากนี้มันจะมีช่องรับและส่งข้อมูลแยก คล้ายๆกับ AGP 2x
ส่วนของ PCI-X ก็จะยังแชร์ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อยู่ แต่ว่ามันคอมแพตกับอุปกรณ์เก่าๆด้วย ข้อควรระวังของ PCI-X ก็คือ ถ้าหากเราใช้อุปกรณ์เร็วๆ ร่วมกับอุปกรณ์เก่าๆช้าๆ PCI-X จะต้องปรับความเร็วเพื่อรออุปกรณ์ช้า เพราะว่ามันใช้ทุกอย่างร่วมกันนั่นเอง

2. SATA II ส่งข้อมูลได้ 3Gb/s และ RAID controller ที่ติดมากับบอร์ดมันมีมากเหลือเกิน ลองเป็นแบบนี้ซื้อ hard disk มาสองตัวอาจจะดีกับงานเราก็ได้ อย่าง board ที่ใช้ nForce 4 SLI จะมี RAID 5 และ 1/0 ให้มาใน chipset เลย http://nvidia.com/page/pg_20041015917263.html

3. IEEE 1394b 9pin: หลังจากที่ปล่อยให้ USB 2.0 มี theoretical bandwidth มากกว่า Firewire ก็ออกเวอร์ชันใหม่ที่ไม่คอมแพตกับเวอร์ชันเก่าออกมา และเร็วขึ้นกว่าเดิมเท่าตัวเป็น 800 Mbps แต่ไม่ค่อยมีอุปกรณ์ออกมาให้เห็นเลยนะ หรือว่ามีแต่เราไม่รู้เเองก็เป็นได้

4. Gigabit network is every where: พวกนี้ติดมากับ chipset แต่แรกเลยเช่นกัน เผลอแป๊ปเดียวเค้ามี Gigabit network กันเป็นว่าเล่นเหอะๆ

5. VGA card แบบ multi-view พบว่ามันมีขายเกลื่อนตลาดเช่นกัน แต่มีปัญหานิดหน่อยเท่านั้นเองว่าจอหนึ่งจะต้องใช้แบบ analog interface เพราะว่าช่องต่อแบบ DVI มันจะมีมาให้แค่อันเดียว แต่เราก็ไม่รู้หรอกว่า ใช้แบบ DVI แล้วมันช่วยอะไรเราได้บ้าง และพวกที่ทำ video grabber ได้นี่ต้องเป็นยัง

6. PC 3200 คือ DDR 400 และจะเป็น DDR ที่เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ก่อนที่จะต้องยกเครื่องไปเป็น DDR2 แทน ซึ่งโรดแมพของ AMD ก็แสดงให้เห็นว่ากำลังพัฒนา CPU ตัวเองให้รับ DDR2 ได้เช่นกัน ส่วนทาง Intel นี่เราไม่รู้และคิดว่าอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องใส่ไ้ว้ใน road map ของ Intel CPU เพราะว่ามันยังจัดการเมมโมรีที่ตัว chip set อยู่

7. ความแตกต่างระหว่าง DDR, DDR2, GDDR2, and GDDR3: ไปดูมาที่
http://www.hardwaresecrets.com/article/167/1 และ http://www.hardwaresecrets.com/article/26 และ http://www.hardwaresecrets.com/article/168 พบว่าให้ความรู้ดีมาก

DDR2 นั้นมีพัฒนาการที่สำคัญที่สุดก็คือ มันตรวจ resistive termination ที่บนชิพ ไม่ใช่ที่ mainboard ทำให้สัญญาณที่ได้ชัดขึ้นมากทำให้ช่วงเวลาที่อ่านค่าได้อย่างปลอดภัยมีมากขึ ้นและเป็นเหตุผลทีทำให้่สามารถเพิ่มความถี่ไปที่ DDR2 800 ได้ (จริงๆคือ 400x2 นะ) นอกจากนี้ DDR2 ก็ใช้ไฟเพียง 1.8V เทียบกับ DDR ที่ใช้ถึง 2.5V ทำให้ DDR2 มีปัญหาความร้อนน้อยกว่า

ส่วนความแตกต่างของ DDR กับ GDDR ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกคุณสมบัติทางไฟฟ้าเท่านั้น และ GDDR ก็จะใช้ voltage มากกว่า เช่นของ GDDR2 นั้นพบว่าใช้ไฟมากถึง 2.5 volt ทำให้มันร้อนมากและไม่ค่อยมีใครใช้กับ VGA board เท่าไหร่ ส่วนมากจะข้ามไปใช้ GDDR3 บน high-end board เลย

ปล. เว็บไซต์เรื่องเมมโมรีมันตั้งชื่อได้ดีมาก Hardware Secrets: Uncomplicating the Complicated ไอ้ประโยคข้างหลังนี่มันจับใจจริงๆ

ปอ. latency ของ DDR2 จะต้องใช้หลาย clock cycles มากกว่า DDR แ่ต่ก็อย่าลืมนะว่าใช้ cycle มากขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่า latency ในฐานะเวลาจริงมันจะมากกว่าเพราะว่า DDR2 ทำงานที่ความถี่ที่สูงขึ้น ซึ่งเหตุการนี้คล้ายกับการที่ latency ของ DDR400 มากกว่าพวก DDR333

Sunday, November 20, 2005

Tips: Hyphenation in MS Word

Nov 19, 2005:
วันนี้พยายามให้ Word มันทำ hyphenation แบบเดียวกับที่ Laธex ทำอยู่ก็พบว่าสามารถไปทำได้ที่เมนู
Tool->Language->Hyphenation...
มันไปอยู่ที่ language นี่เองทำให้หาไม่เจอ แต่มันก็จะไม่ขยาย space แบบ latex ให้อยู่ดี ซึ่งเราคิดว่าก็อาจจะดีก็ได้สำหรับฟ้อนต์ขนาด 12 ที่เราใช้อยู่ แต่ถ้าเป็นฟ้อนต์ขนาด 10 ล่ะก็เราคิดว่าทำแบบ LaTex จะสวยมาก

ขอบคุณเว็บ http://wordtips.vitalnews.com/Pages/T0616_Hyphenating_Your_Document.html ที่ให้ข้อมูล

Thursday, November 17, 2005

Study: Plan

Nov 17, 2005:
I talked with Dr. Higgins and I am going to make a concurrent program of Master and Ph.D. degrees at the same time. I'm now going to very seriously prepare for a candidacy exam held on Jan 13 or 20 (not officially announced yet) as a partial fulfillment of Ph.D. program. For coursework, It's good to hear that all classes I taken here can be transferred to Ph.D. program; i.e., 34 coursework credits will be transfered. These 34 credits are: 1 credits of colloquium, 15 credits of 4xx level courses and 18 credits of 5xx level courses.

Because colloquium can be counted for 4xx, not normal 5xx level courses. I need to take three more of 5xx level courses and one more of 4xx level one.

For the next semester, I will take 586 computer vision, 591 Research in CSE and one another course I cannot decide yet, but probably an English writting course. Plus, 2 credits for thesis research to secure full-time status.

Misc: หนังสือ Handbook of Math กับ EDM 2

Nov 16, 2005
วันนี้ไปห้องสมุดภาค Math มา ไปเจอหนังสือที่อยากดูอยู่พอดีสองเล่มคือ Handbook of Math in Computational Science ของ Springer กับ EDM 2 (Encyclopedic Dictionary of Mathematics 2) ลองๆเปิดดูก็พอจะได้ข้อสรุปดังนี้คือ

Handbook of Math: ทำให้หา Technical term ต่างๆในหมวดนั้นได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับหาสูตรด้วย อย่างไรก็ดีเราก็ยังรู้สึกว่าการใช้พวกหนังสือในรูป Tutorial อาจจะดีกว่าในแง่ของการหาสูตร เว้นเสียแต่ว่าไม่ต้องการพกหลายเล่ม เพราะ Handbook นี้มันรวมทุกๆอย่างไว้ในเล่มเดียวได้จริงๆ

สรุป ถ้าต้องการดู technical terms หนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลได้อย่างว่องไวมาก

EDM2: เป็นสารานุกรมด้านคณิตศาสตร์ที่เล่าเรื่องราวและความสัมพันธ์ของวิชาการต่าง ๆได้ดีมาก และทำให้มองเห็นในหลายมุมมอง เช่น เรื่อง dynamic programming มันก็ได้แสดงออกมาในรูปของทางคณิตศาสตร์มากกว่าในรูปของ algorithm

ส่วนการนำเสนอมันทำให้เรารู้จักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ term หรือ theory อันใดอันหนี่งดีมาก เพราะจะมีการอ้างถึงงานหรือหัวข้อที่สัมพันธ์กับเรื่องที่กำลังสนใจอยู่ได้ด ีมาก ทำให้มองเห็นภาพที่กว้างขึ้นพร้อมๆกับความสัมพันธ์กับกับวิชาอื่นๆ

สรุป คงไม่ค่อยจำเป็นต้องใช้ถึงขนาดมาซื้อเก็บไว้ แต่ให้ความรู้กับพวกที่เรียน math โดยตรงได้ดีมาก

เราเห็นว่าโต๊ะอ่านหนังสือแบบส่วนตัวที่ห้องสมุด Physics and Mathematics นั้นดีมากๆแสงที่สบายตา สายไฟ อินเตอร์เนตล้วนเพียบพร้อม เหมาะกับการใช้เป็น office ชั่วคราวจริงๆ วันหลังน่าไปอ่านอีก

Wednesday, November 16, 2005

Study: Time to Fight

Nov 16, 2005:

Candidacy exam will be held on about Jan 13, 2006. In other words, there are about 58 days left.
There are about 42 problems on algorithm, architecture, and operating system and there are about 47 problems on programming language. Overall, I have about 175 drill problems. To be well prepared, I need to practice 4 problems a day.

CHARGEEEE!!!!!

Tuesday, November 15, 2005

Computer: AMD processor core

วันนี้ เราไปสำรวจราคาซีพียูของ AMD มา เพราะอยากได้ซีพียู dual core มาใช้ในอีกประมาณ 6-8 เดือนข้างหน้า ถึงตอนนั้นคงมีตัวใหม่ๆออกมาแล้วล่ะ แต่ก็คิดว่าตัวที่ซื้อคงจะเป็นพวกที่ดูไว้นี่แหละ เพราะไม่งั้นคงไม่มีตังค์ซื้อ สำหรับเรื่องที่จะพูดถึงก็คือ processor core ของ AMD มีอะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไร และราคาที่ NewEgg เมื่อวันที่ Nov 15, 2005 เป็นอย่างไร

สำหรับแบบ dual core จะมีให้เลือกอยู่สองแบบคือ
Core Manchester และ Core Toledo
ท ั้งสองตัวนี้ใช้เทคโนโลยีการผลิต 90nm SOI ส่วนข้อแตกต่างของ core ทั้งสองคือ power consumption และ cache ดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบคุณสมบัติในเว็บ AMD ดังนี้
http://www.amdcompare.com/us-en/desktop/SideBySide.aspx?opn=ADA4400DAA6CD&opn=ADA4200DAA5BV

แน่นอนแบบ Toledo ซึ่งใหม่กว่ามี cache มากกว่าและกินไฟมากกว่า สำหรับ สนนราคาแบบ retail box พร้อม heat sink และ พัดลมก็ตามข้างล่าง
Toledo 2.2GHz (4400+, 1GHz FSB, socket 939, 113 Watt) = 497USD, free 3 day shipping
Manchester 2.2GHz (4200+, 1GHz FSB, socket 939, 89 Watt) = 400USD, free 3 day shipping

ทางเรากำลังรอให้ราคาลดลงอยู่นะคร้าบ

Nov 23, 2005:
พึ่งรู้ว่า Athlon X2 กับ Dual-core Opteron ต่างกันยังไง
มันมีความแตกต่างแค่เพียงอย่างเดียวนะ คือจำนวน Hypertransport Link ที่ไว้เชื่อมต่อกับเมมโมรี

"There is really not much of a difference between the Athlon 64, Athlon64 X2 and the Opteron family. The two- and eight-channel Opterons come with four Hyper Transport links while the single- processor Opteron 100 series and the Athlon 64 come with two links only." Source "http://www.tomshardware.com/cpu/20051107/single_core_cpus_aint_dead_yet-04.html"

พ บความรู้เพิ่มเติมว่าเราสามารถที่จะติด CPU Model 2xx ได้สองตัว (ทำให้ได้ 4 cores รวมกัน) เพราะว่ามัน support two ways ที่เขียนเป็น 2P(rocessors) ซึ่งทาง Tom's Hardware Guide ก็เขียนไว้ในหน้า http://www.tomshardware.com/cpu/20051107/single_core_cpus_aint_dead_yet-02.html#amd_platform_system_lineup ว่า "second dula core can be added" และที่สำคัญก็คือทาง HP ก็ขายโซลูชัน dual dual-core CPU ให้เช่นกัน

สุดท้ายเวลาจะหาของ เราพบว่าคลิกไปที่ banner ขายของใน THG เอาจะมี Option ให้เลือกของที่เรารู้สึกถูกใจมาก หาของที่ต้องการง่ายดี

แต่ราคา Opteron Series 200 แบบ dual core นี่มันแพงจริงๆ ราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 900 เหรียญ ยังไงก็คงไม่สามารถซื้อได้ ลองเป็นแบบนี้คาดว่าคงต้องรอซื้อเครื่องแบบ Athlon64 X2 ที่จัด Package มาโดยพวก HP ซะแล้ว ไว้ต่อไปมันทำพวก quad core หรือว่าราคาของ opteron มันถูกลงค่อยลองมาคิดกันใหม่ ซึ่งคิดว่า quad core คงจะออกมาในปี 2008

AMD, meanwhile, has pinpointed 2008 as the year it is looking at multicore—that is, more than two cores—processors. (source: http://www.crn.com/sections/breakingnews/dailyarchives.jhtml?articleId=172901382)

Friday, November 11, 2005

Study: ต้องเอาจริง ภาคต่อเนื่อง

เราพบว่าการทำบันทึกด้วย latex แล้วเอาขึ้นเว็บโดยผ่านการแปลงด้วย xsl เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว คิดว่าจะต้องเอาจริงต่อไป โดยจะต้องวกกลับไปทำเรื่อง termology และการใช้คำในภาษาอังกฤษเสริมเข้าไปอีก

พบว่าถ้าไม่ทำแล้วความรู้มันรั่วหายออกไปเร็วเสียนี่กระไร ดังนั้นเรื่องดีๆที่ได้ทำมาแล้วต้องทำต่อไปอีก นั่นคือ 'เอาจริงอย่างต่อเนื่อง'

อ่ะ คิดว่าต่อไปต้องขยับขยายไปถึง source code ด้วย ต้องพิจารณาให้รอบคอบกว่านี้ ของเก่าที่ทำไว้ ต้องทำให้ถึงที่สุดไม่งั้นประโยชน์อันเป็นรูปธรรมมันจะไม่เกิดขึ้น

อย่าขวัญเสีย อย่าสับสน และใช้เวลาให้มีประโยชน์

Study: ต้องเอาจริง

วันนี้โดน advisor บอกว่ามีปัญหาด้านการเขียน thesis ที่มีการ organize และเลือกใช้คำไม่ดี และบอกให้เรากลับไป edit มาก่อนอีกรอบแล้วค่อยเอามาตรวจกันใหม่

อืม คิดว่าเราคงต้องเอาจริงเอาจังกับการเขียนมากขึ้นซะแล้ว
คงต้องแบ่งเวลามาศึกษาการเขียนประโยคสวยๆดีๆให้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันว่าพวก technical term นี่จะไปรู้จักมันอย่างเป็นระบบได้อย่างไร แต่ก็คิดว่าบางทีเราอาจต้องเปิดพวก encyclopedia เพื่อให้รู้จักศัพท์เกี่ยวกับส่วนต่างๆในร่างกายมากขึ้น และ เพื่อให้เรารู้จักกับงานของเรามากขึ้น

ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถเอาชีวิตรอดไปได้เราจึงมีความเห็นว่า อะไรที่ไม่เกี่ยวกับงานและสุขภาพก็เลิกๆไปเหอะ ไม่รู้จะไปยุ่งทำไม สิ่งต่างๆในชีวิตคนเรามันผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเป็นธรรมดา เราจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่เรื่องงานพวกนี้เราจะไม่ทำไม่ได้ เพราะต่อไปเราต้องยืนอยู่บนลำแข้งของตนเองและต้องคอยช่วยเหลือคนอื่นๆด้วย

เอาล่ะ เริ่มแรกก็คงต้องหา reference มาเสริมซึ่งได้แก่
1. Medical dictionary
2. Encyclopedia
3. Thesaurus (can access via http://www.reference.com/)
4. English grammar book

หมายเหตุ ตอนนี้พับเก็บ thesis แล้วมาทำเรื่องผลการทดลองที่ยังค้างคากันต่อให้เสร็จก่อนดีกว่า นั่นก็คือเรื่องของ calcification ทำ appendix ให้เสร็จแล้วจากนั้นก็ใจเย็นๆค่อยๆหาทางเรียบเรียงความคิดต่อๆไป

Thursday, November 10, 2005

ทั่วไป: กลอนที่ตามหามานาน

ในที่สุดก็เจอ ไม่คิดว่าจะไปอยู่ในเว็บพวกนักนิยมธรรมชาติซะได้
(http://www.naturethai.org/webboard/00307.html)

นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส แมงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้าง ฤทธี

Thursday, October 27, 2005

Study: Lesson learned recently

Tuesday Oct 25, 2005:
I had a quiz on Tuesday and the content of this quiz is beyond the pages described in the schedule. This causes me a little trouble and I got a lesson: if your professor is a bit crazy, be prepared for unexpected things such as incoherence, esp. when what you see is not quite correct. For example, the content of the quiz described in the schedule is only about 15 pages. This is quite impossible. Another example is the previous quiz in which no good question can be generated for quiz in its scope. So, the professor asked a question in previous section instead without prior notice. Fortunately, in that time, I was well prepared for that stuff. But this time, I was not because I did not expect he asked questions in the next section.

You must prepare if your professor is (a bit) crazy.

Wednesday Oct 26, 2005:
'When the war is not over yet, do not count the number of corpse' (Thai idiom). I finished homwork before time, but I forgot to take homework folder with me to class. Oh, I was too careless about the last step: submission. Always be careful until it's really over: submission and approval. For my thesis, this means approval by committee, submission and approval from thesis office and department.

Sunday, October 23, 2005

Life: เพลง `ไกล' ของ มาโนช พุฒตาล

ชอบท่อนเพลงในส่วนของเพลง `ไกล' ของ มาโนช พุฒตาล มาก (ท่อนที่ประมาณเวลา 15.34) มันคือเพลงที่อยู่แทรกกับเพลง หมอผีครองเมือง นะ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมอยู่ๆถึงนึกถึงเพลงนี้ขึ้นมา แล้วก็พยายามตามหาเนื้อเพลงมาหลายวัน แต่ไม่พบ ไปพบเพลงที่ฟังบนออนไลน์ได้ที่

http://mzaa.com/music/mainalbum.asp?Folder=05%2E+Rock+Thai+%2D+%E0%BE%C5%A7%C3%E7%CD%A4%E4%B7%C2%5CThe+Olarn+Project%5CThe+Olarn+Project+%2D+3+%2D+%E4%B5%C3%C0%D2%A4+%28The+Rain+%2C+%C1%D2%E2%B9%AA+%BE%D8%B2%B5%D2%C5%29
(เป็นสถานีเพลงที่มีโฆษณาที่ล่อแหลมยังไงก็ไม่รู้ อย่าไปคลิกไอ้ที่ไม่เข้าเรื่องก็แล้วกัน)

จากนั้นก็ฟังแล้วก็บันทึกซะ ท่อนที่ชอบมีเนื้อว่า

``ปลดปล่อยตนเองไปตามลำธารเปลี่ยว โดดเดี่ยวคนเดียวเหลียวมองดูรอบกาย
โดดเดี่ยวเดียวดายกระหายพบเพื่อนร่วมทาง โลกที่อ้างว้างเส้นทางที่ไกล

อยากบอกให้รู้ความดียังมีอยู่ ความจริงรับรู้เข้าใจด้วยเหตุผล
ดื่มดับกระหายสายน้ำของทุกผู้คน หยุดความสับสนเลือกหนทางเดิน

สัจธรรมจริงแท้มั่นคงดำรงอยู่ ปัญญาความรู้เท่าทันความเศร้าหมอง
ดื่มเถิดเพื่อนพ้องสายน้ำของการแบ่งปัน ร่วมกันสร้างฝันบนฐานความจริง

โลกใหญ่ใบนี้ไม่มีใครครอบครอง ไม่แบ่งเป็นสองเพ่งมองดูแม่น้ำ''

ปัจจุบันยังมีคนแต่งเพลงแบบนี้ออกมาอีกไหมนะ

เห็นมีหลายที่ขายซีดีอยู่ อย่างอันนี้ราคาก็ใช้ได้ http://www.jarungjai.com

Thursday, October 20, 2005

Study: What to do next?

Now, I think I cannot defend my thesis within deadline for sure. My advisor told me that he needs to edit it heavily. My English writing skill is horrible. I really need to do something about it. However, there is good news in that bad news. He edits my thesis heavily because he thinks that there are many new things in my thesis and can get publication out of it. Since I do not have much experience in this field, I do not know if my thesis contains any new things or not.

So, what I need to do is to work as hard as possible, of course. This is a very lesson for me. You cannot be lazy because things in life is so unpredictable. Work hard today and will not regret later.

Okay, that's enough. Let's look at the things I need to do then.
  1. Segment the unhealthy lymph node in case p2h024 and h008
    Need to learn how to use live-wire
    Need to convert Kungkou's ROI data to binary mask for subtraction
    Man, I did check it out. ROISurfaceWriter modify ROI data a little bit, but I have no idea how to programatically know whether the file is modified or not. For original ROI data, the number of voxel of the first ROI is located at bytes 77-80 (the number of ROIs is at bytes 59-60). For modified ROI, the location is at bytes 86-89. But how can I know if it is modified or not?

    Yeah, I got it. We can know about modification programatically by looking at the name length of an ROI. If the length is greater than zero, it is modified and we skip reading the name area. That's it.

    Note that I mentioned about the information location of the number of voxels because voxel coordinates follow the number immediately and the number of voxels is computable and can be used for verification.

    Now (Oct 26, 2005), I found that problem in p2h024 does not come from the nodule station 4 or at least the nodule is not the only major factor. I found that by changing optimization parameters we can achieve good result. The optimization parameters include
    • wa1 = 1.5
    • wa2 = 183.3
    • wa3 = 44.17
    • The encouraging denominator for model augmentation is 12.5, instead of 2.5 in normal case.
    • The optimized affine parameters are
      Affine Transform Parmeters :
      Z Axis (radian): 0.307386965
      X Axis (radian): 0.
      Y Axis (radian): 0.34906587
      X Scale : 1.2376132
      Y Scale : 1.15778553
      Z Scale : 1.00098896
      X Translation : -7.0258193
      Y Translation : 5.23104668
      Z Translation : 32.5653343

      Notice that X and Y scaling factors are very large. Probably, this patient has very long span for aortic arch. The next thing I am going to do is to test this optimization parameters with p2h024 with the nodule station included. If the optimization succeeds, we can conclude that the nodule does not cause any trouble to our method; i.e., it is the matter of optimization only.

      บทเรียนวันนี้ (Oct 26, 2005)
      อ ่า พึ่งรู้ตัวเมื่อสักครู่เองว่าเราเข้าใจอะไรผิดไปบางอย่างเกี่ยวกับการหมุนแก น. ตอนแรกเราคิดว่าถ้าหากเรามีจุดสองจุดคือ (x1, y1, z0) และ (x2, y2, z0) แล้วถ้าจากนั้นทำการหมุนรอบแกน y เราก็น่าจะได้ค่าใหม่ที่เป็น (x1', y1', z0') และ (x2', y2', z0'). แต่ปรากฏว่านั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะถึงแม้ว่าในตอนก่อนหมุนจุดสองจุดนั้นจะมีค่า z ที่เท่ากันคือ z0 แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าหมุนแล้วมันจะเท่ากันได้. ตอนแรกเราคิดว่ามันเท่ากันเพราะว่าโมเดลเส้นลวดที่เราเอามาใช้มันดันให้ผลแบ บนั้นพอดี นั่นคือ x1 = x2 ด้วย. ในความเป็นจริงถ้าหากว่าค่า x กับ z มันเท่ากัน หมุนรอบแกน y ยังไงเราก็จะยังได้ค่าที่เท่ากันอยู่นั่นแหละ (ทั้ง x และ z) เลย. สาเหตุที่มันจะเท่ากันดูได้ง่ายๆจากสมการการหมุนรอบแกน y ที่ว่า
      x' = x cos( a ) - z sin( a )
      z' = x sin( a ) + z cos( a )

      ดังนั้น ถ้าหากว่า x1 = x2 และ z1 = z2 แล้วล่ะก็หมุนออกมามันก็จะได้อะไรที่เท่ากันแน่ๆ

  2. Writing thesis
    • the cookbook of model building
    • numerical data of affine transform parameters obtained
    • stopping criteria for region growing
    • Relation of carina position and crucial point
    • How to control affine transform parameter (translation size)
    • Angular constraints are still measured by voxel coordinate. This should be fixed.

      คำถามที่ต้องเตรียมตอบในช่วงนี้ก็คือ
      1. ล็อกไฟล์ของ PA ทำไมยังไม่สมบูรณ์
      2. Span ของ test cases ที่วัดด้วยมือมีขนาดเท่าไหร่
      3. Local fitting ของ aorta สร้างผลต่างได้แค่ไหน ใช้เวลาเท่าไหร่ เอาออกไปดีไหม (ทำแล้ว Oct 28, 2005 แต่คิดว่าอาจต้องใส่ลงไปตรงบทสรุปอีกครั้ง)
      4. แล้วข้อมูลเกี่ยวกับการทำ model fitting ของ PA ล่ะ ทำไมไม่โชว์

        จ ากคำถามพวกนี้เราเห็นได้ชัดว่าเราต้อง 1. วัดขนาด span ด้วยมือ 2. จัดทำ log file ใหม่ให้สมบูรณ์ 3. เก็บรายละเีอียดของ local optimization ให้ครบ

  3. Set up web for recording programming and important stuff. I'm really forgetful indeed.
    • Getting www network path
    • Setting new pinyotae.net redirection path
    • Just use ms word to write and put it to the web. Simple but effective

  4. Reading CSE530 for exam and preparing for candidacy exam too

Wednesday, October 19, 2005

Life: ที่ว่างในใจกับการก้าวสู่ที่สุดของศักยภาพ

เราทำดีมาติดต่อกันได้สองวันกว่า แต่ก็พบว่าเรายังทำได้ไม่ดีพอ
ที่ว่าได ้ไม่ดีพอก็เพราะว่าเราได้กำจัดกิจกรรมอันไม่เกิดประโยชน์ดังที่ได้ก ล่าวไว้ใน http://pinyotae.blogspot.com/2005/10/life.html แล้ว เราได้ทำงานวันหนึ่งๆประมาณ 10 ชั่วโมงต่อวัน แต่งานก็ไม่ค่อยกระเตื้องเท่าไหร่ ถ้ามามองในมุมของการแสวงหาทรัพยากรการนั่งอยู่กับโต๊ะทำงานก็เหมือนกับการเก ็บเกี่ยวผลจากทรัพยากรทางกายในระดับหนึ่ง และเราก็ใช้ทรัพยากรทางกายนั้นไปหมดแล้ว ดังนั้นเราก็ต้องหาแหล่งทรัพยากรอื่นเพิ่ม ซึ่งเมื่อพิจารณาดูก็พบว่าเรายังไม่ได้ทำใจเราให้สามารถจดจ่อได้อย่างเต็มที ่ กล่้าวคือทรัพยากรทางจิตวิญญาณของเรายังเหลืออีกมากแต่เราก็ยังเอามันมาใช้ไ ม่ได้

เรายังเอามันมาใช้ไม่ได้จริงๆ อย่างในวันนี้ที่เราตัดสินใจเขียนบล็อกนี้ขึ้นมาก็เพราะว่าเรารวบรวมใจเราให ้สงบไม่ได้ สาเหตุมีสองอย่างคือ เรายังมีจิตแสวงหาความสุขความสำเร็จทางโลกเหลืออยู่ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือเรามัวแต่ดีใจที่อาจารย์บอกว่า "I think we can get a publication out of it" ซึ่งทำให้เรารู้สึกดีใจมากว่าวิทยานิพนธ์ของเราไม่ใช่ของที่ใครจะมาดูถูกได้ ง่ายๆ

ลองมาวิเคราะห์ดูที่สาเหตุแรก เราก็จะพบว่าถึงเราไม่ได้ต้องการความสุขทางเพศเพราะเราทำให้มันสงบไปได้มากแ ล้ว แต่เราก็ยังปราถนาความสุขแบบอื่นๆอีกเช่น ต้องการให้คนยอมรับว่าเราเก่ง (มันคงเป็นปมด้อยเพราะเรารู้ตัวเราว่าโง่) แต่ก็ขอให้รู้ไว้ด้วยว่า ไม่ว่าเราจะอยากให้เค้ายอมรับว่าเราเก่ง เค้าก็ไม่ได้ยอมรับที่ตัวเรา แต่ยอมรับที่ความสามารถของเรา ดังนั้นถ้าหากเราไม่มีผลงานออกมาติดต่อกันนานๆ ต่อไปคนก็ต้องคิดว่าเราไม่เก่งแน่นอน ดังนั้นขอให้จำไว้เลยว่าไม่ว่าเราจะต้องการมันยังไง มันก็จะไม่เป็นจริงขึ้นมาถ้าหากเราจะลงทุนลงแรงทำเหตุปัจจัย คือผลงาน ให้บังเกิดขึ้น

ส่วนสาเหตุที่สองถือว่าทำให้เกิดวังวนขึ้นมาอีกชั้นห นึ่ง ลองคิดดูนะว่าพอเรามีผลงาน คนก็เริ่มมามองเรา แล้วเราก็จะมัวแต่ดีใจ ยึดติดกับความสุขนั้น จนก่อเกิดเป็นความผิดพลาดและเราก็จะตกวกกลับมาในรูปแบบเดิมอีก กล่าวคือ พอดีใจก็จะใจไม่สงบ (ใจหมดที่ว่างใช้สอย) ใจไม่สงบก็จะทำงานไม่ได้ ทำงานไม่ได้งานก็ไม่เสร็จ งานก็ไม่เสร็จเราก็จะทุกใจอีก ซึ่งมันก็จะกลายเป็นวังวันอันน่าอนาถใจ

แล้วจะทำยังไงดีล่ะ
เราก็ควรที่จะเลิกหวังคำชื่นชมต่างๆ อย่าลืมว่าคำสรรเสริญจัดเป็น 1 ในโลกธรรม 8 ผู้ที่หวั่นไหวกับมันย่อมไม่อาจพ้นจากวังวนของสังสารวัฎไปได้ เราต้องทำใจให้ไม่หวั่นต่อโลกธรรมให้ได้เสียก่อน จากนั้นก็เรียกที่ว่างในใจออกมาด้วยการสงบลมหายใจ กระทำกรรมฐานให้เกิด แล้วที่เหลือกก็คือการศึกษาและทำงาน อันถือเป็นการเดินไปบนมรรคาสู่ความสำเร็จ เพราะเหตุปัจจัยที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายจะเกิดขึ้นมาเรื่อยๆเอง และจะเกิดขึ้นมาในเวลาที่ไม่นานจนเกินไป

สุดท้ายก็ขอให้จำไว้เสมอว่า เราต้องไม่มีใจวอกแวกแส่ส่าย เราจะออกไปจากเส้นทางที่ตั้งใจไม่ได้

(๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๘ ๑๘.๐๑ นาฬิกา)

Monday, October 17, 2005

Life: ความผิดพลาดที่ทำให้ไปไม่ถึงที่สุดของศักยภาพ

ตั้งแต่วันศุกร์มาเราทำงานได้น้อยมาก จนถึงตอนนี้คือเช้าของวันจันทร์พี่งจะได้เริ่มเขียนวิทยานิพนธ์ต่อ สรุปก็คือเราทำเวลาหายไปประมาณสามวัน ขอบของศักยภาพของเรายังอยู่อีกไกลเหลือแสน และเราพบว่ามูลเหตุหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้มีอยู่สามอย่างคือ
  1. ความพอใจในกาม (sensual indulgence) ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมบทลงโทษเรื่อง "ภิกษุจงใจทำให้อสุจิเคลื่อน" มันถึงเป็นอาบัติหนักได้ พลังงานทางจิตที่สะสมไว้หายหมดเลย แทบจะไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้แต่เรื่องเรียนได้อย่างเต็มที่เพร าะพลังงานมีไม่ค่อยพอ

    เมื่อมีไม่พอ เราก็จะคิดว่า "พักผ่อนก่อนก็แล้วกัน" พอคิดอย่างนี้แล้วเราก็จะหาอะไรทำที่เป็นสันทนาการแล้วก็ยึดติดกับมันอีกกว่ าพลังงานทางจิตจะฟื้นได้ก็ยิ่งใช้เวลามากกว่าเดิมเข้าไปอีก และนี่แหละที่ทำให้เวลาเราหายไปมากมายเหลือเกิน

  2. มัวแต่ยุ่งเรื่องของชาวบ้าน เ ช่น การอ่านข่าวมากเกินไปการวนเวียนไปอ่านเว็บบอร์ดต่างๆ พอมาลองทบทวนแล้วเราพบว่า แม้แต่ข่าวเราก็ไม่ต้องอ่านทุกวันก็ได้ เราควรจะปล่อยวางข่าวบ้านการเมืองพวกนั้นบ้าง คิดดูก็แล้วกันว่าการทำสมาธินั้นสำคัญกว่าการอ่านข่าวของชาวไทยแน่ แต่เรากลับไม่ได้ทำบ่อยขนาดอ่านข่าวหรือเว็บบอร์ด ดังนั้นถ้าเปลี่ยนเวลาตรงนั้นมาทำสมาธิแทนมันจะดีขนาดไหน

    ก ารดูกี ฬาก็เช่นกันถึงจะเป็นเรื่องราวของเพ็นสเตท แต่เมื่อมาคิดดูแล้วเราก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากข่าวสารพวกนั้นเท่าไหร่นะ เราอาจจะต้องรู้อะไรบ้างก็จริงแต่ประโยชน์ที่ได้ก็ยังนับว่าไม่ทำให้เราพอใจ ได้ ถ้าอยากอ่าน back issue ของ collegian ก็นี่เลย http://www.collegian.psu.edu/BACK_ISSUES/BACK_ISSUES.ASP
    มันมีหน้าแรกเป็นรูปให้ดูแบบ pdf ด้วย ดังนั้นอาทิตย์นึงก็ดูข่างตรงหน้าหนังสือพิมพ์แล้วก็เลือกๆอ่านเอาก็พอเพียงแล้วล่ะ

  3. ไม่ยอมทำงานแบบติดต่อกันแบบ non-stop ม ันสำคัญมากที่เราจะทำงานแบบติดต่อกันนานๆและจดจ่อให้ดีที่สุด เพราะ overhead ในการเปลี่ยนกลับไปมามันสูงมาก ดังนั้นก็ขอให้พยายามทำให้ติดต่อกันมากๆ มีระเบียบวินัยมากขึ้นด้วยนะ

Concluding Remarks
ค งถึงเวลาที่เราจะต้องปล่อยวางจุดประสงค์ทางโลกให้หมดแล้วล่ะ เราไม่เหมาะที่จะอยู่บนสถานะแบบนั้นจริงๆ พวกความสุขทางโลกต่างๆก็คงต้องถึงเวลาที่เราจะต้องเอามันไปทิ้งแล้ว เพราะตัวของความสุขนั่นแหละที่ทำให้เราทุกข์อยู่เสมอ อย่าคิดที่จะเสพสุขเป็นอันขาดเพราะพลังงานทางจิตจะลดลงอย่างมากแล้วเราก็จะท ำงานไม่เสร็จแล้วกลับไปทุกข์ใจอีก ตอนนี้สิ่งที่เราควรทำคือตั้งหน้าตั้งตาเรียนเพื่อให้จบหน้าที่ทางด้านนี้ให ้เร็วที่สุด การกระทำอื่นใดที่จะขัดต่อจุดมุ่งหมายอันดีนี้่ขอให้ปล่อยวางเสีย

แต ่ข่าวสารบ้านเมืองก็ไม่ควรถูกนำไปทิ้งโดยสิ้นเชิง ก็ขอให้อ่านจากแหล่งอันมีสาระก็แล้วกันนั่นคือ "มติชนสุดสัปดาห์" โดยเฉพาะของนิธิ เอียวศรีวงศ์ (ไม่รู้เขียนถูกรึเปล่า) เขียนได้ดีมากๆ นอกนั้นก็ดู back issue เอาจาก daily collegian ก็แล้วกัน ลองทำดูและให้ทำเฉพาะวันอาทิตย์ ต่อไปนี้ขอให้อดกลั้นใจลองทำดูเพราะไม่เช่นนั้นเราจะมีเวลาไม่พอที่จะทำงานของเราให้เสร็จ

ดูได้ว่าเวลาของเรามีน้อยแค่ไหนได้ที่นี่
http://pinyotae.blogspot.com/2005/10/blog-post.html จริงๆแล้วนอกจากเรียนหนังสือแล้วเราแทบไม่สามารถทำเรื่องอย่างอื่นได้อีกแล้ ว ดังนั้นความทุกข์จากงานที่ไม่เสร็จจึงเกิดขึ้นทันทีที่มีความประมาทเกิดขึ้น

Life: Stairway to Graduation

บทนำ

วันนี้ได้รับ comment คืนมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาพบที่ผิดบานตะไท ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ definition, wording, consistency ในรูปภาพและสมการ และเรื่องการใช้ article (a, an, the) (ฮ่วยพูดไปแล้วจะว่ามันผิดไปซะทุกจุดก็ได้เลยนี่หว่า) ถ้าเราอยากจะเรียนให้จบในระดับปริญญาเอก เราคงไม่สามารถปล่อยความสามารถด้านการเขียนของเราให้มันเป็นอะไรแย่ๆแบบนี้ไ ด้ เราคิดว่าเราต้องเร่ิมฝึกฝนการเขียนให้มากขึ้นกว่านี้ ต้องพยายามนะภิญโญ เธอจะปล่อยให้ชีวิตล่องลอยไปแบบนี้ต่อไปไม่ได้ "ปลาเป็นย่อมว่ายทวนกระแสน้ำ คนเป็นย่อมว่ายทวนกระแสใจ" ถ้าไม่ตั้งมั่นเราจะไปไม่ถึงจุดหมายของชีวิต เราจะชี้นำจิตวิญญาณของผู้คนได้อย่างไรถ้าหากว่าเรายังไม่สามารถฝ่ากระแสใจข องตัวเองได้

พยายามหน่อยนะ ทรัพยากรที่เป็นวัตถุมีครบแล้ว แต่ถ้าหากไม่ใส่ทรัพยากรด้านการกระทำและความตั้งมั่นลงไปเหตุปัจจัยที่จะทำใ ห้งานสำเร็จย่อมมีไม่ครบ แต่ก่อนเราหวังว่าถ้ามีทรัพยากรด้านวัตถุเราจะต้องทำสำเร็จแน่ นั่นเป็นเพราะว่าเรายังไม่ได้มองปัญหาให้ครบถ้วน ในสมัยก่อนเราไม่ได้มองไปที่ตัวของเหตุปัจจัยเลยทำให้เรามักทุ่มไปด้านใดด้า นหนึ่งแล้วก็ไปไม่ถึงจุดหมาย ซึ่งไปไม่ถึงก็เพราะเราแก้ปัญหาผิดทาง คือเราลืมไปว่าเหตุปัจจัยต้องมีครบเสียก่อน อันว่า "เหตุเกิด ผลก็ต้องเกิด เหตุไม่เกิด ผลก็ไม่เกิด" และนั่นคือที่มาของหัวข้อของบล็อกในวันนี้ เราต้องการรู้เหตุปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จการศึกษา ซึ่งเราเรียกเหตุปัจจัยนั้นว่า "stairway to graduation"

Stairway to Graduation
ทางด้านทรัพยากรวัตถุ
  1. การเงิน

    โดยปรกติเรามีไม่ขาด จนกว่าจะหมดสัญญาดังนั้นรีบๆเรียนให้จบซะ เวลามันผ่านไปไวเหลือเกิน ความประมาทจะนำพาแต่ความทุกข์ให้เราเท่านั้น เราต้องทุ่มเทพลังตลอดไม่งั้นเราคงเอาตัวไม่รอดภายในเวลาที่กำหนดได้ เอ้า สู้ต่อไปนะ

  2. คอมพิวเตอร์

    อาจจะติดขัดนิดหน่อยเพราะเครื่องที่เร็วพอในแล็บอาจจะมีไม่ครบ แต่ถ้าเราไปทำงานที่แล็บเป็นประจำและมีผลงาน เชื่อได้เลยว่า Dr. Higgins ต้องซื้อมาเพิ่มอีกเครื่องหนึ่งเป็นแม่นมั่น ดังนั้นเราก็ต้องพยายามต่อไป และก็ควรจะอดออมเงินไว้ใช้ในอีกทางหนึ่งด้วย

    อย่างไรก็ตามเราจะไม่ซื้อเครื่องคอมใหม่เป็นอันขาด ตราบใดที่วินโดวส์ยังมองเห็นแรมได้แค่ 3GB เพราะคิดว่าเมื่อมาเจอกับความมือเติบเรื่องเมมโมรีของเรา มันคงหมดไปอย่างรวดเร็ว อ้อเรารอ CPU แบบประหยัดพลังงานอยู่นะ เพราะคิดว่าต่้อไปคงต้องคิดเรื่องนี้กันบ้าง และนี้คงจะเป็นเครืองคอมเครื่องสุดท้ายที่เราจะซื้อก่อนจบการศึกษา

  3. หนังสือ
    มีครบแน่ๆเพราะทาง กพ ให้เงินเรามาเพียงพอต่อความต้องการ เรามีมากกว่าที่เราจำเป็นจะต้องใช้ด้วยซ้ำ เหลือแต่ว่าเราไม่ยอมอ่านเองนั่นแหละ

ทางด้านทรัพยากรความรู้
  1. คณิตศาสตร์พื้นฐาน
    • Linear Algebra
    • Vector Calculus
    • Probability and Statistics
    • Differential Equation

      คงจะเห็นกันชัดๆแล้วใช่มั้ย ว่าเรายังมีไม่ครบเลยสักอัน ดังนั้นเรื่องที่จะเรียนจบง่ายๆน่ะเลิกคิดได้เลยตราบใดที่ปัญหาพวกนี้ยังอยู ่กับเรา

  2. ด้านการประยุกต์ใช้ในเชิงวิศวกรรม
    • Image Processing Theories and Filter Usage
    • Model Fitting and Optimization Theory

      ถ้ามาลองสังเกตดูก็จะพบอีกเช่นกันว่าจริงๆแล้วเราไม่ค่อยรู้จักเทคนิคการใช้ พวกฟิลเตอร์เลย เราไม่ค่อยรู้จักคุณสมบัติมันทำให้หยิบใช้ไม่ค่อยถูก ส่วน Optimization theory นี่แทบไม่มีอะไรอยู่ในหัวของเราเลยนะเนี่ย ถ้าต้องใช้จริงจังนี่เรียกได้เลยว่าไม่น่าจะเอาตัวรอดไปได้

  3. ด้านความรอบรู้ในงานวิจัย
    ในขณะที่เราทำงานของเรา เราก็ควรจะรู้จักเทคนิคของคนอื่นๆด้วย เพื่อที่จะทำให้เราได้รู้ว่าเราจะสามารถนำของต่างๆมารวมกันให้มีผลลัพธ์ที่ด ีขึ้นได้หรือไม่ หรือว่ามีเทคนิคอื่นที่ดีกว่าที่เราทำอยู่หรือเปล่า ของพวกนี้ถ้าไม่รู้ก็อาจจะไปผิดทาง ทำงานวิจัยที่ไม่เข้าท่าออกมาได้

    แน่นอนเราไม่มีอะไรสักอย่างเลย แล้วแบบนี้จะทำตัวเหยาะแหยะอยู่ได้อย่างไร เอ้าพยายามต่อไปอีกนะ การหยุดพักคือทางสู่ความเกียจคร้านของเราโดยแท้

ทางด้านความชำนาญ
  1. ความสามารถในการเขียนภาษา C++

    อุเหม่ เราก็ยังไม่เก่งอยู่ดีนั่นแหละ เราว่าจะทำ code-segment library ให้เป็นรูปเป็นร่างแต่ก็ไม่ได้ทำสักที ไม่ใช่ว่าเราไม่มีเวลาหรอก แต่ว่าเราแย่เกินไปที่จะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่างหาก เรามีอะไรที่ต้องศึกษาอีกมากจริงๆ

  2. ความสามารถในการออกแบบโปรแกรมให้มีความยืดหยุ่นรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

    สำหรับข้อสองกับข้อสาม พวกนี้ต้องมานั่งทบทวนกันหใหม่ให้จริงๆจังๆแล้วล่ะ ไม่งั้นคงไม่รอดเป็นแม่นมั่น ประสิทธิภาพในการสร้างผลงานซอฟต์แวร์อยู่ที่ข้อสองกับข้อสามนี่แหละ

  3. ความสามารถในการออกแบบการทดลองเพื่อวัดผล
    ดูคอมเมนต์ข้อสองได้เลยนะ เราต้องทบทวนเรื่องนี้ให้หนัก และหันมาทำทุกอย่างอย่างเป็นระบบ

ทางด้านบุคคล
  1. อาจารย์ที่ปรึกษา
    นี่เรียกได้เลยว่าเป็นปัจจัยเดียวที่เรารู้สึกว่าเราได้ของที่ดีที่สุดมา แต่ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวของเรา เรากลับทำไม่ดีเลย ให้ตายเหอะ

  2. คณะกรรมการวิทยานิพนธ์
    ถ้าเป็นตอนปริญญาโทนี้คิดว่าเราคงไม่มีปัญหาแล้วล่ะ แต่ตอนเอกก็คิดมาให้ดีๆร่วมกับอาจารย์นี่แหละ ไม่น่าจะเป็นปัญหา

  3. เพื่อนร่วมงาน
    มาลองดูดีๆ เราพบว่าคนรอบตัวที่เราเจอในแล็บมันช่างดีเสียนี่กระไร กลายเป็นว่าเราเป็นคนที่แย่ที่สุดแล้วนะ สรุึปก็คือจริงๆแล้วของพวกนี้แทบไม่เป็นปัญหาอะไรกับเราเลยนะ

  4. เพื่อนอื่นๆที่อยู่รอบๆตัวเรา
    ถ้าเป็นชาวไทยก็อาจจะเป็นปัญหานิดหน่อย แต่เราพบว่าตอนนี้เค้าก็เข้าใจแล้วว่าเราอยากใช้เวลาทำงานมากๆและก็ไม่ค่อยม ายุ่งกับเราแล้ว ดังนั้นต้องใช้เวลาช่วงนี้แหละจัดการงานทุกอย่างให้เสร็จ แล้วก็ศึกษาต่อไปว่าเราต้องวางตัวอย่างไรจึงจะทำให้ความสัมพันธ์ดีๆยังอยู่ไ ด้และไม่เป็นภาระกับเรา (จะว่าไปจิตวิญญาณที่อยากช่วยคนอื่นของเรามันแรงจริงๆ ขนาดตอนนี้ยังคิดอยู่เลยว่าถ้าพวกนั้นเกิดมีปัญหาขึ้นมาเราจะช่วยพวกเค้าได้ อย่างไร ภายใต้ระยะห่างขนาดนี้)

ทางด้านภาษาและการติดต่อสื่อสาร
  1. ความสามารถในการเขียนเรื่องเชิงวิชาการ

    เราพบว่าฝีมือเราห่วยแตกบรรลัย แต่ก็ไม่น่าแปลกเพราะว่าธีสิสที่เขียนไปนั้นใช้เวลาถือว่าน้อยแล้วเราก็ไม่ไ ด้มาอ่านตรวจทานเท่าไหร่เลยว่ามันดีแล้วหรือไม่ เราต้องมาทำการอ่านและศึกษาเรื่องเหล่านี้อย่างจริงๆจังๆแล้ว และคงต้องทุ่มเทให้สามารถทำให้ดีๆได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

    การอ่านซ้ำและแก้ไขเป็นเรื่องทีสำคัญมากๆ เพราะขนาดที่เขียนเป็นภาษาไทยตอนนี้ เรายังพบเลยว่า เราจะเขียนได้ดีกว่านี้ถ้าหากเรามาอ่านซ้ำแล้วปรับปรุงใหม่ ดังนั้นพอเป็นภาษาอังกฤษ เรายิ่งต้องทำการทบทวน โอ้ชีวิตแท้จริงมันยากเย็นเหลือเกิน

  2. ความสามารถในการพูดและฟังเพื่อติดต่อสื่อสารให้ง่ายยิ่งขึ้น

    อุตส่าห์ซื้อหนังสือพร้อม CD ที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดมาแล้ว ดังนั้นต้องใช้ประโยชน์ให้เต็มที่นะ หนังสือ "The American Accent Guide" ของ Beverly Lujan นี่ท่าทางจะดีมากๆแล้วล่ะ หาเวลามาอ่าน ฟัง และ พูดให้ได้ก็พอ

  3. ความเป็นธรรมชาติ
    คงอยู่ที่การฝึกฝนและการดูจากหนังแล้วล่ะมั้ง

  4. ความถูกต้อง (ไวยากรณ์ต่างๆ)

    ต้องทำอย่างเป็นระบบ ศึกษาได้จากตัวอย่างของหนังสือเฮียหงวน เราน่าจะลองมาทำเป็น electronic file กันดูหน่อยนะ วิจารณ์กันแบบประโยคต่อประโยค เพื่อให้จัดหมวดหมู่ต่างๆได้ง่าย แต่ไม่ควรทำใส่บล็อกเพราะมันอาจจะจมธรณีได้ง่าย ควรจะเซฟไฟล์ใส่ไว้ใน gmail แทน อาจจะทำให้ใส่ word หรือ html/xml แทน แต่คิดว่า word น่ะดีแล้วจะได้ไม่ต้องศึกษาอะไรเพิ่มมาก ง่ายดีและไม่ออกนอกประเด็น

    อันนี้เป็นการศึกษาในเชิงของประโยคเดี่ยวหรือสองสามประโยคเท่านั้น เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานของาการเขียนประโยคที่ถูกต้องและได้ใจความ

  5. การจัดเรียงเนื้อหาให้สมบูรณ์ อ่านง่าย ไหลลื่น

    หลังจากทำข้อสี่ได้สักระยะหนึ่ง เราก็ต้องทำการจัดการเรียงของต่างๆเข้าด้วยกันให้เนื้อหามันดูดี ไม่ควรจะมีคอมเมนต์กลับมาว่า 'Put it in more sensible location' อย่างวันนี้ เราอาจจะเขียนถูกแล้ว แต่กลับไม่สามารถจัดวางในที่ที่ทำให้เนื้อหาประติดประต่อไหลไปอย่างราบลื่นไ ด้

ทางด้านจิตวิญญาณ
เรียกได้เลยว่ามันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะทำงานให้สำเร็จ
  1. ความมีระเบียบวินัย

    อย่างในบล็อก http://pinyotae.blogspot.com/2005/10/life.html เราบอกว่าจะอ่านข่าวเฉพาะตอนวันอาทิตย์ เราก็ต้องทำเฉพาะวันอาทิตย์จริงๆ เพราะถ้าผิดพลาดไประงับความอยากรู้เรื่องของชาวบ้านไม่อยู่ ม้ันก็จะเริ่มผิดพลาดต่อๆไปเหมือนกับโดมโนที่จะล้มมาต่อๆกันเรื่อยๆ

    จำไว้ให้ดีเลยว่าความผิดพลาดที่ยุ่งยากของเรามันเริ่มมาจากความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆของเรา

  2. ความมั่นคงและความตั้งมั่นทางจิตใจ

    เราจะต้องไม่วอกแวกออกจากงานที่ทำ และเราจะต้องมั่นคงพอที่จะต้านการรับความสุขจากการนอน และความพอใจในกามได้ ถ้าเราไม่ตั้งมั่นพอก็จะเกิดความประมาท เมื่อเกิดความประมาทก็จะเกิดความผิดพลาดเล็กน้อยขึ้น เมื่่อเกิดความผิดพลาดเล็กน้อยขึ้นมันก็จะล้มต่อๆกันไป ยากที่จะหาจุดสิ้นสุดได้

  3. ความจดจ่อที่ได้ดุลระหว่างตัวอักษรและความเข้าใจ

    เวลาอ่านหนังสือ ในขณะที่เราจดจ่อกับข้อความ เราก็ต้องจดจ่อกับความหมายของข้อความด้วย หลายครั้งที่เราไม่ทำให้เกิดความได้ดุลขึ้น ทำให้อ่านแล้วไม่เข้าหัว (จดจ่อกับตัวอักษรมากเกินไป) หรือ อ่านแล้วใจเตลิดออกไปยังกิ่งก้านสาขาของความรู้มากเกินไป (จดจ่อกับความเข้าใจและเกิดการแตกแขนงของความรู้ไปแบบไม่รู้จบ แต่ไม่เข้าประเด็นของเรื่องที่เรียนอยู่)

  4. ความไม่ประมาท

    อย่าได้คิดว่า "พักผ่อนก่อนแล้วค่อยมาทำงาน" อะไรทำนองเนี้ย เพราะว่าเราทำอย่างนี้มาหลายทีแล้ว แล้วก็พบว่าซวยตลอด มันเป็นความผิดพลาดแบบโดมีโนล้มจริงๆ เราต้องตั้งใจเดินให้ถูกทาง ถูกท่า ถูกวิธี ในทุกๆรายละเอียดจะต้องถูกต้องหมด ถ ้าเราคิดว่าการกระทำของเรามันมีอะไรที่ขัดแย้งกันกับทางสู่เป้าหมายสูงสุดแล ้วล่ะก็ จำไว้เลยว่าเรากำลังจะล้ม เพราะความขัดแย้งนั้นเหมือนกับการที่ขาเราขัดกันนั่นเอง

    ดังนั้นสังเกตให้ดีๆ อย่าให้ผิดแม้แต่อะไรที่เล็กๆน้อย เพราะความประมาทเพียงเล็กน้อยสำหรับคนอย่างเรามันคือจุัดเริ่มแห่งความยุ่งย ากทั้งมวล

ทางด้านเวลา
  1. ปริมาณเวลาที่ต้องใช้

    เราประมาทเรื่องนี้อยู่เสมอเลย เราเป็นคนที่ทำงานช้าและไม่ค่อยต่อเนื่องทำให้เวลาที่ต้องใช้มากกว่าคนอื่นแ บบผิดปรกติ ดังนั้นเราจะต้องทำใจตรงนี้แล้วยึดหลักไม่ประมาท ไม่งั้นสิบปีก็ไม่พอแน่นอน

  2. การจัดสรรเวลาที่เหมาะสม

    เราจะต้องมั่นใจว่าในวันหนึ่งๆ เราทำงานหลักโดยใช้เวลาไม่ต่ำกว่าหกชั่วโมงเสมอ และเนื่องจากเห็นแล้วว่าพวกความรู้ที่เราขาดไปมันมากกว่าที่เราเคยรู้สึกตัว มากนัก ดังนั้นเราจะต้องฝึกฝนพวกนั้นอย่างน้อยวันละสองชั่วโมง ไม่งั้นก็อย่างที่รู้กัน "ไปไม่รอดแน่นอน"

  3. ช่วงการใช้เวลาที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด

    เพราะอย่างไรงานหลักก็คือสิ่งที่สำคัญที่สุด เราจะต้องเริ่มต้นทุกๆวันด้วยเรื่องของงานหลักเสมอ เราจะไม่เริ่มต้นด้วยเรื่องของการอ่านข่าว หรือ งานรองเป็นอันขาด เราจะต้องเริ่มจากเรื่องที่ยุ่งยากที่สุดแทนที่จะเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด เหตุผลก็คือเรื่องที่ยากที่สุดมีความไม่แน่นอนที่สุดและเราต้องทำจนเราเห็นท างสู่ความแน่นอนขึ้นมา
Candidacy and English Exam

เป็นของที่ต้องสอบให้ผ่าน ถ้าไม่ผ่านก็จะโดนไล่ออก ประมาทไม่ได้เลย ยังไงๆเราก็ต้องทำการฝึกฝนอยู่ตลอด ยิ่งผ่านเร็วยิ่งดี ถ้างั้นทำไมไม่ให้ผ่านที่เทอมที่จะถึงนี้เลยล่ะ จัดการให้เสร็จที่เทอม Spring 2006 ได้เลยนะ จะเริ่มอย่างจริงจัึงตอน Thanks giving นี่แหละ

ทางด้านความยากของหัวข้อวิจัย
อ ันนี้เป็นปัจจัยที่เรียกได้เลยว่ามีความไม่แน่นอนเป็นที่สุด เราไม่สามารถดูออกได้เลยว่าจริงๆแล้วมันยากหรือง่ายกันแน่เพราะว่าเราอาจจะข าดความรู้ความชำนาญหรือว่าเราเลือกวิธีที่ผิดพลาดมาใช้งานก็เป็นได้

สรุป

เ ห็นแล้วใช่ไหมว่าปัจจัยที่จะทำให้เรียนจบได้ไม่ใช่มีน้อยๆนี่ขนาดยังไม่รวมพ วกรายละเอียดเช่นสุขภาพเข้าไปด้วยนะ ถ้าสังเกตดูให้ดีๆเราจะพบว่าเรายังบกพร่องอยู่หลายอย่าง ด้วยเหตุนี้เองเราพูดได้คำเดียวเลยว่าถ้าหากเราไม่ทำอะไรสักอย่างมีหวังไม่จ บกันพอดี เมื่อเห็นเป็นอย่างนี้บล็อกนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญห าอย่างเป็นระบบ สำหรับในเวลานี้ความตั้งมั่นและทุ่มเทให้กับงานหลักคือสิ่งที่เป็นปัญหามากท ี่สุด ระเบียบวินัย และ ความไม่ประมาทจะต้องถูกสร้างขึ้นมาให้สมบูรณ์ก่อนเสมอ พร้อมๆกับการแบ่งเวลาไปศึกษาเรื่องที่เป็นเหตุปัจจัยสู่การเรียนจบอยู่เรื่อ ยๆอย่างไม่ย่อท้อ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นเองเมื่ือเหตุปัจจัยต่างๆมีครบ และจะไม่มีทางเกิดขึ้นหากเหตุปัจจัยที่จำเป็นยังเกิดขึ้นไม่ครบ

ป.ล.
ยิ่งนานเรายิ่งรู้สึกเคารพคำพูดของพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้กับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ที่ว่า
"เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมของตถาคตกล่าวไว้ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรรมจรรย์ เพื่อให้ถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์เถิด" คำกล่าวของพระพุทธองค์มันยอดเยี่ยมเหลือเกิน ถ้าไม่ประพฤติพรรมจรรย์เราไปไม่ถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์แน่ๆ เราต้องยอมทิ้งความสุขทางโลกไปเสียแล้วล่ะ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วเราคงไม่อาจไปถึงเป้าหมายของชีวิตของเราได้ (Oct 17, 2005 4.30am)

ป.อ.
หนทางชีวิตยังยาวไกลเหลือเกิน แต่เราก็พบว่าเรายังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงดาวไม่เคยออกไปได้เลยแฮะ ตอนที่อ่านเรื่องทำนายประจำปีจาก astrology.com เค้าบอกว่า "ปีนี้เป็นปีแห่งการศึกษาของเรา แต่ไม่ได้ทำไปเพราะความชอบ แต่ทำไปเพื่อให้สำเร็จการศึกษา" โอ้ มันช่างพูดได้ถูกต้องมากมายเสียนี่กระไร แสดงว่าทั้งความดีและความเลวที่เราทำผ่านๆมา คงแทบไม่มีอันไหนเป็นกรรมหนักๆให้เราเปลี่ยนชีวิตในภพชาตินี้ได้เลยสินะ

ป.ฮ.
เรื่องที่ต้องศึกษาที่เขียนไว้ข้างบนหนักพอแล้ว ตอนนี้ไอ้ความคิดที่จะหางานทำหรือศึกษาการเขียนภาษาจาวาให้มันจ๊าบๆหน่อยหรื อว่าเรื่องเล่นกีฬานี่คงต้องเลิกคิดกันได้แล้วนะ แค่รู้จักออกกำลังกายบ้างก็พอแล้ว ไม่อย่างนั้นเราคงเอาตัวไม่รอดแน่นอน พึ่งจะรู้ตัวว่าเรากำลังจะไม่รอดก็วันนี้แหละ โชคยังดีที่เรายังไหวตัวทัน คงพอจะมีเวลาเตรียมตัวก่อนความทุกข์จะมาถึงได้บ้าง

อืม หนทางอีกยาวไกลสู้ต่อไป ภิญโญ แท้ประสาทสิทธิ์
(Oct 17, 2005 8.15 am ใช้เวลาเขียนบล็อกนี้นานมากจริงๆ เขียนมาตั้งแต่ตีสี่)

Saturday, October 08, 2005

งานที่ต้องทำในช่วงนี้

งานที่ต้องทำในช่วงนี้
(ที่เขียนชึ้นมาก็เพื่อให้เราสามารถจัดสรรเวลาให้ได้อย่างถูกต้องมากขึ้นน่ะนะ)

Major:
1. Thesis writing
2. (Done-Oct 11, 2005) Abstract for CSE530
3. ฝึก vector calculus ให้มากขึ้น

Minor:
1. (Done-Oct 9, 2005) ส่งเปเปอร์ไปหาสมพล
2. (Done-Oct 9, 2005) โทรไปหาเตี๊ยงเซ็ง (ส่งเมล์เอกสารไปแล้วด้วย)
3. (Done-Oct 11, 2005) ทำความสะอาดห้อง
4. (Done-Oct 17, 2005) เขียนเรื่องเกี่ยวกับการสะสมความรู้และประสบการณ์ในชีวิต
5. (Done-Oct 15, 2005) แก้อีเมล์คุณบุตรนาคและ upload ข้อมูลใหม่ขึ้นเว็บ

Long Term:
1. ฝึกฝนสมาธิ
2. ฝึกฝนการเขียนภาษาอังกฤษ
3. ฝึกฝนการฟังและพูดภาษาอังกฤษ
4. เตรียมสอบ Candidacy Exam

เ ราพึ่งสังเกตว่าเดี๋ยวนี้เราทำงานไม่ค่อยสำเร็จเพราะว่าเราไม่เคยกะเลยว่าง านแต่ละอันต้องใช้เวลาเท่าไหร่ และเรามีเวลาเท่าไหร่ ดังนั้นต้องมาเริ่มวางแผนกันก่อน

เริ่มด้วยการคิดสมมติว่าเราอยู่ตอน ม.ปลายก่อน เพราะนั่นเป็นช่วงเวลาที่ไม่เคยเรียนแล้วรู้สึกว่ามันน่าอึดอัดอะไรทั้งสิ้น แสดงว่าเวลาที่ใช้น่าจะเพียงพอและไม่มากเกินไป

ปรกติเราจะเริ่มเรียน ตอน 8.30am และเลิก 3.30pm ลบพักเีที่ยงออกไปก็จะเป็นว่าเราอยู่ในโรงเรียนวันละ 6 ชั่วโมง จากนั้นเราไปเรียนพิเศษอีกวันละ 4 ชั่วโมง แสดงว่าทำงานวันละ 10 ชั่วโมง เรามีความสม่ำเสมอมากทำให้ทุกอย่างมันลุล่วงไปได้ เราเองในตอนนี้ก็คงต้องทำเช่นนั้น

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นมาปนก็คือ ในขณะนี้เรามี factor ที่มาเกี่ยวข้องเพิ่มก็คือการไปซื้อของซึ่งต้องรอเวลาจากคนอื่น ทำให้จัดการเวลาไม่ค่อยได้ดีนัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องโปรแกรมการทำสมาธิด้วย ดังนั้นมาดูกันก่อนดีกว่าว่าเราใช้เวลาไปขนาดไหนบ้างกับพวกกิจกรรมเสริม

1. ทำสมาธิวันธรรมดา ใช้ประมาณ 2.30 ชั่วโมง
2. ทำสมาธิวันอาทิตย์ ใช้ประมาณ 3.00 ชั่วโมง
3. ฝึกฝนการเขียน 1.30 ชั่วโมง
4. ฝีกฝนการฟังและพูด 1.30 ชั่วโมง
5. เตรียมสอบ 2.30 ชั่วโมง

ส ่วนกิจกรรมหลัก เราตั้งไว้แล้วว่าต้องทำวันละ 6 ชั่วโมง (เวลาตามโรงเรียน) และต้องทำสัปดาห์ละ 6 วัน ดังนั้นถ้าเราตื่นวันละ 14 ชั่วโมง เราก็จะมีเวลาสำหรับอาบน้ำ กินข้าว อ่านข่าว ออกกำลังกายอีกวันละ 4 ชั่วโมง เราต้องเคร่งครัดมากสำหรับเวลาอ่านข่าวเพราะเราชอบอ่านนานเหลือเกิน ต้องตั้งไว้ไม่เกิน 30 นาที เราอุตส่าห์ซื้อ stop watch มา ดังนั้นต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์นะ

อ๊ะ ยังมีพวกงานกลุ่ม minor อยู่ พวกนี้แหละที่จัดการยาก เราจะใช้เวลากลุ่ม long term มาจัดการ โดยจะจำกัดเวลาให้อยู่ภายใน 1 ชั่วโมงสำหรับเรื่องทั่วๆไปที่ไม่ใช่ทำความสะอาด ส่วนทำความสะอาดตั้งไว้ที่ 1.30 ชั่วโมง และวันหนึ่งๆจะทำไม่เกิดหนึ่งเรื่อง

เอ้า จะโพสต์แล้วนะ จะได้มาตรวจอีกทีว่าเราจะทำได้ดีแค่ไหน

Monday Oct 10, 2005 1.21am
  • ท ำเรื่อง abstract ก้าวหน้าพอสมควร แต่ต้องรอฟังคำตอบจากอาจารย์อยู่ (ได้เมล์ตอบมาว่ามีคนเอาหัวข้อนั้นไปแล้ว เสียดายเหมือนกัน ตอนนี้เลยเปลี่ยนมาเป็นเรื่อ Internet and Proxy Caching แล้ว แห้วแบบนี้เสียเวลาเปล่าจริงๆ ที่จริงแล้วแค่่ส่งเมล์ไปบอกว่าจะเอาเค้าก็ตอบรับแล้วล่ะ ไม่ต้องศึกษาอะไรมาก่อนทั้งสิ้น ความเสียเปล่าตรงนี้มันเกิดจากกระบวนการคิดและการลงมือที่ชักช้าของเราเอง เฮ้อ)
  • จัดการเรื่องเปเปอร์ที่ต้องส่งให้สมพลไปได้เกือบหมดแล้ว เหลือแต่ที่เป็นแบบฮาร์ดก็อปปี้
  • จัดการเรื่องบทความสมาธิที่ต้องเตี๊ยงเซ็งไปได้หมดแล้ว
  • ในวันนี้ทำงานหลักไปได้แค่ 5 ชั่วโมงเอง
Wednesday Oct 12, 2005 1.00am
  • ท ำ Thesis ไปก้าวหน้าขึ้นมาก ถึงแม้จะยังไม่มีประสิทธิภาพ แต่เราก็สามารถใช้เวลากับมันได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น ในวันหนึ่งๆ เราสามารถอยู่กับมันได้ถึง 8 ชั่วโมงแล้ว จริงๆแล้ววันนี้ทำไป 9 ชั่วโมงเพื่อชดเชยเมื่อวานที่ขาดหายไปจากเป้าหมายประมาณ 1 ชั่วโมง
  • ว ันนี้ทำความสะอาดห้องกับ living area ไป ใช้เวลารวม 45 นาที (สังเกตดัวยนะว่าตอนนี้ เรามีการตรวจสอบเวลาของ minor activity เข้ามาร่วมด้วยแล้ว)
  • วันนี้ไปออกกำลังกายมาด้วย เราพบว่า bicep เราอ่อนแรงไปเยอะเหลือเกิน กล้ามเนื้ออื่นๆก็พลอยอ่อนแรงไปด้วย เพราะไม่ได้ออกกำัลังกายจริงจังมานานมาก เดือนนึงแค่สองครั้งเอง สำหรับเวลาที่ใช้ก็คือ 1 ชั่วโมงกับ 45 นาที (เดินไปกลับใช้เวลาประมาณ 45 นาที ออกกำลังกายอีก 45 นาที)
  • ตอนนี้ยังไม่ได้ฝึกสมาธิที่บ้านขอ งตัวเองเลย แต่ก็เตือนสติให้ควบคุมลมหายใจของตัวเองอยู่บ่อยๆอยู่ อาจจะยังไม่ได้ฝึกที่บ้านไปสักหนึ่งสัปดาห์เพราะเราต้องการทำงานในฐานะนักเร ียนให้ดีก่อน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดความกังวลในขณะทำสมาธิ
Friday Oct 14, 2005 5.55am
  • เ มื่อตอนคืนวันพุธและตอนกลางวันของวันพฤหัสก็ทำงานรวมเวลาได้ดังนี้ (ไม่รวมเวลาที่ใช้ไปกับ meeting ถึงแม้ว่าจะเป็นการใช้เวลาที่เรียกได้ว่ามีประโยชน์มากๆก็ตามที)
    1. ท ำเรื่อง project proposal ของ CSE530 ใช้เวลาไปประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งเราพบว่า การที่เราจะหาหัวข้อดีๆได้ก็ไม่ง่ายนัก และจะหา paper ที่มาสนับสนุนก็ไม่ง่ายเช่นกัน หัวข้อที่ไม่ฮอตจะมีจุดเริ่มต้นที่ยากกว่า
    2. ไ ปเรียนและอ่านสอบ quiz ตอนเช้าใช้เวลาประมาณ 2.30 ชั่วโมง นี่คงเป็น quiz ที่แย่ที่สุดเท่าที่เราเคยทำมาเลยนะเนี่ย เราพบว่าเวลาที่ใช้ในการอ่านแค่ 30 นาทีไม่มีวันพอแน่นอน ต่อไปนี้ถ้าจะแสวงหาคะแนนเต็ม เราคงต้องใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง และเราคิดว่าเราต้องทำ
    3. ทำการบ้านและเรียน vector calculus ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง
      อ ้อ วันนี้ไปพบ Dr. Collins ด้วย เค้าดูท่าทางเป็นมิตรมากเลย ตอนนี้เราก็ได้ committee มาแล้วเหลือแค่จัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยแล้วก็ลุย
    สรุปก็คือเราใช้เวลาทำเรื่องอันเป็นประโยชน์ไปประมาณเก้าชั่วโมง แต่เวลาเราหายไปเพียบเลยนะ เพราะนอนมากเกินไป จริงๆแล้วเราไม่ต้องนอนมากมายอะไรก็ได้นะ เพราะลองทบทวนดูแล้วมันไม่ค่อยได้ช่วยเราเท่าไหร่เลยมั้ง เพราะความจุทางพลังงานเรายังต่ำอยู่ นอนไปก็ไม่ได้ไปกว่าค่าความจุพลังงานของตัวเอง

  • บทเ รียนที่สำคัญที่เรารับรู้ในวันนี้ก็คือ อย่าไปมีปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านมากโดยไม่จำเป็น อยู่เงียบๆตั้งใจทำงานไปน่ะดีแล้ว เราในตอนนี้ไม่ได้แข็งแกร่งอะไรมาก เรื่องของชาวบ้านจะทำให้ใจของเราเปลื้อนเปล่าๆ

  • รู้ สึกว่าไม่ได้ทำสมาธิแล้วกิเลสครอบงำจิตได้ง่ายนะ แต่โชคดีที่ช่วงนี้กินเนื้อน้่อยมากๆเราก็เลยรอดตัวไปได้ คิดว่าต่อไปคงต้องกินเจจริงๆแล้วเพราะไม่งั้นจะเข้าสมาธิลำบากมากขึ้น

  • เ ท่าที่ติดตามดูพบว่า เราคงต้องขยันทุกวัน เพราะในวันหนึ่งๆเราก็มีความด้อยประสิทธิภาพ (Inefficiency) อยู่สูงมาก ถึงแม้จะทำๆไปเรื่อยๆทุกวัน จากการสังเกตก็พบว่าเวลาทำงานของเราจะเหมือนกับว่าหายไปหนึ่งวันโดยอัตโนมัต ิเพราะความด้อยประสิทธิภาพนั่นเอง ดังนั้นถ้าหากมีวันหยุดหนึ่งวันก็จะกลายเป็นว่าเราทำเวลาหายไปสองวัน ซึ่งจะทำให้เวลาทำงานของเราไม่พอ

    สรุป ไม่ต้องไปหาวันหยุดหรอก เพราะที่ใช้ชีวิตอยู่นี่ก็มีความสบายใจเหมือนกับเป็นวันหยุดทุกวันอยู่แล้ว

รู้สึกว่า "This Blog Forever" จริงๆ เขียนมาต่อเนื่องเลยแฮะ

Thursday, September 29, 2005

Math: Distance between two lines

เยี่ยมมาก คิดอยู่ตั้งนานว่าจะ proof ทฤษฎีพื้นฐานนี่ได้ยังไง ในที่สุดก็เจอ

Objective: Given two straight lines in 3D:
  • line 1:    r = a + t*b
  • line 2:    r = p  +s*q

    Show that the distance between those two lines are |(a - p).u|
    where u is a unit vector given by b x q / |b x q|.
The distance is the length of line segment that perpendicular to both line 1 and 2. Thus if we can find the length of that line segment we are done. So there are two subproblems now:
  1. Finding direction of the line segment
  2. Finding the length of the line segment that bridge line 1 and 2
To find direction of the line segment cross product can be used because output from cross product is a vector perpendicular to both input vectors. In other word, b x q gives out the direction we want.

To find the length, scalar projection can be applied. If we know a vector that bridges the two lines (in this case it is a - p), we can find the distance between those two lines by calculating scalar projection on the perpendicular vector. Remember that the distance is actually |a - p| cos theta where theta is an angle between (a - p) and the perpendicular vector.

The scalar projection is |a - p|cos theta = | (a - p) . (b x q) | / | b x q| = | (a - p) . u|.

Q.E.D.

Monday, September 26, 2005

Misc: แค่เก็บลิงค์ของเรื่องที่จะมาอ่าน

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000131381

Life: จะผ่าวิกฤติการเรียนการสอนในไทย

วันนี้อ่านเรื่องราวมาจาก
๑ บล็อกของชานนท์ ซึ่งลิงค์ไปถึงเรื่องอันน่าสนใจคือ http://www.stickmanbangkok.com/Reader/reader1363.htm

๒ ข่าวเกี่ยวกับการผลิตครู http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000131380

ทำให้เราพบว่าตอนนี้สถานะการณ์ด้านการศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ ในด้านบุคคลเราบกพร่องทั้งสองด้านเลยคือ ตัวผู้เรียนที่ดูเหมือนว่าจะขาดทั้งระเบียบและทรรศนะคติที่ดีต่อการเรียนของตนเอง และตัวผู้สอนที่ดูเหมือนว่าจะขาดความเห็นที่ถูกต้องและกำลังใจที่จะฟันฝ่าปัญหาต่างๆด้านการสอนของตัวเองไปให้ได้

เราต้องหาจุดเริ่มที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีให้ได้ สำหรับความบกพร่องในด้านตัวผู้เรียนเราคงไม่สามารถที่จะเริ่มทำการเปลี่ยนที่นั่นได้ เพราะกลุ่มชนพวกนั้นผู้เป็นเหมือนโมฆะบุรุษที่ไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ด้วยการอบรมระยะสั้น

แต่ในขณะเดียวกันทางด้านครู แม้เราจะสามารถทำให้พวกเค้ามีจิตวิญญาณของความเป็นครูขึ้นมาได้ แต่พวกเค้ากลับไม่แข็งแกร่งพอที่จะรักษาจิตวิญญาณนั้นได้นานเมื่อเค้าถูกกระทบกับเครื่องบั่นทอนกำลังใจในโลกภายนอก อันได้แก่ตัวอย่างต่อไปนี้
๑. รายได้ที่ค่อนข้างจะน้อย โดยเฉพาะสำหรับผู้สอนที่เก่งๆ
๒. ไม่สามารถตอบสนอง ego ของผู้ที่ปรารถนาความโดดเด่นในทางวัตถุได้ (ผลต่อเนื่องจากข้อที่หนึ่งที่ดูเหมือนว่าจะสำคัญกับคนรุ่นปัจจุบันค่อนข้างมาก)
๓. ความไม่ใส่ใจในของผู้เรียน ที่ทำให้ผู้สอนรู้สึกสับสนและหมดกำลังใจที่จะเตรียมตัวมาทำการสอน พร้อมๆหมดกำลังใจที่จะทำให้ทุกอย่างดูดีขึ้น เพราะอนาคตที่ดีขึ้นในด้านความเป็นครูมันช่างมืดมนเสียเหลือเกิน
๔. แม้กระทั่งผลตอบแทนด้านความยอมรับจากสังคมรอบด้านก็แทบจะไม่มี การประกาศเกียรติคุณของอาจารย์ช่างดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบด้านเสียนี่กระไร

เมื่อมามองย้อนไปถึงตัวอย่างที่เป็นการบั่นทอนจิตวิญญาณของความเป็นครูทั่วๆไปทำให้เราคิดว่าสังคมไทยเราคงไปไม่รอดแล้วแน่ เพราะคนทั่วไปมองการณ์ใกล้ และแสวงหาความสุขที่ได้มาง่ายๆ โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทนทางจิตวิญญาณในระยะยาว พวกเค้าย่อมเลือกที่จะยอมแพ้เพราะไม่อาจทนต่อความผิดหวังที่ซ้ำซากได้ อันคนเราเมื่อมีความหวังแต่ไม่สามารถทำความหวังให้เป็นจริงๆได้ก็ย่อมเกิดความย่อท้อ และละทิ้งตนจากความเพียร เมื่อทิ้งตนจากความเพียรไป พวกเค้าก็จะได้รับผลของความเกียจคร้านนั้น นั่นคือถูกกลืนเข้าไปกับกลุ่มชนพวกที่ไร้จิตวิญญาณไปแล้ว ขอเรียกกลุ่มชนนั้นว่า The lost souls ซึ่งหมายถึงกลุ่มชนที่เคยมีจิตวิญญาณแต่ก็ต้องสูญเสียมันไป

ไทยเราต้องการอะไรล่ะในตอนนี้ คำตอบก็คือเราต้องการเสาหลักอันเข้มแข็ง (Pillar of Strength) ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ที่ดีให้กับเราได้

ถ้างั้นเรา(หมายถึงร่างกายและจิตใจของผู้เขียน)จะเริ่มจากไหนดีล่ะ? คำตอบนั้นง่ายนิดเดียวนั่นก็คือ เริ่มจากตัวของเราเอง เราจะต้องฟันฝ่าจุดนี้ไปให้ได้ เพราะเรารู้ตัวของเราดีว่าเราคือ "ผู้ที่เดินทางไกล" เราจะเดินทางไปไกลและฟากฝั่งที่มนุษย์ผู้ด้อยปัญญาจะไปถึงได้ เราจึงได้คัดเลือกเฉพาะสิ่งที่สำคัญๆติดตัวเราไว้เท่านั้น เราได้ละทิ้งความถือตนที่มีขนาดใหญ่ ถือไว้เพียงความสมถะและความอ่อนน้อมที่มีขนาดเล็ก ความถือตนไม่เหมาะกับคนที่จะเดินทางไกลเพราะมันจะทำให้เราเกิดความไม่พึงใจที่จะเดินบนทางอันปราศจากการปรุงแต่งแต่บริบูรณ์ด้วยความหมายแห่งชีวิต ข้อนี้ย่อมทำให้เรารอดพ้นจากอันตรายต่อวิญญาณด้วยเครื่องบั่นทอนกำลังใจที่ ๑ ๒ และ ๔ ได้

แล้วเราจะปกป้องตนจากอันตรายที่ ๓ ได้อย่างไร ข้อนี้มันเป็นไปได้อยู่อย่างเดียวคือ เราต้องมีอุเบกขา และความไม่หวั่นไหวในโลกธรรม เราต้องเป็นผู้ที่มีจิตไตร่ตรองถึงประโยชน์ในบั้นปลาย เพราะ "ผู้ที่มองออกไปไกล" เท่านั้น ที่จะเดินไปถึงเป้าหมายอันไกลโพ้นได้โดยไม่หลงทาง และคู่ควรที่จะเป็นผู้ที่ได้เสพมรรคผลอันเลิศ

การเป็นผู้ไตร่ตรองเห็นประโยชน์ในระยะยาวนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่มันกลับไม่ได้รับการเน้นให้คนทั่วไปได้เข้าใจ. มันสมควรที่จะได้ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนและสังคมโดยรวม. ทำไมนายภิญโญจึงมีความเห็นว่าการเห็นประโยชน์ในระยะยาวมันไม่ได้รับความใส่ใจล่ะ? ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนายภิญโญไตร่ตรองเห็นว่าคนทั่วไปไม่ได้รู้ไม่ได้คิดเลยว่าคำสั่งสอนต่างๆถูกกำหนดขึ้นมาเพื่ออะไร ด้วยเหตุผลอะไร. และคนทั่วไปก็ไม่ได้ไตร่ตรองเลยว่าถ้าหากเราละเมิดมันไปแล้ว จะเกิดผลอะไรตามมา. เรา(สังคมโดยรวม)ถูกปิดหูปิดตาจากความไตร่ตรองมาโดยตลอด ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เราบอกว่าให้เดินตามขนบธรรมเนียมหรือประเพณี"อันดี" โดยที่เราไม่เคยบอกเลยว่ามันดียังไง และถ้าหากเราจะไม่เดินตามทางนั้นแล้วมันไม่ดียังไง คนที่ถามคำถามเหล่านั้นมักจะถูกมองว่าท้าทายผู้ใหญ่ ซึ่งไม่ว่านั่นจะเป็นการท้าทายหรือไม่ สิ่งที่เราต้องทำก็คือหาคำตอบมาแจกแจงให้ได้ว่าคำว่า "อันดี" นั้นมีความหมายว่าอย่างไร

การแจกแจงข้อดีเป็นสิ่งที่สำคัญมากนะ เพราะหากเราไม่รู้ก็แปลว่าเราไม่ได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายเลย เมื่อไม่ได้เข้าใจจุดมุ่งหมายสุดท้ายเราก็จะหลงทางหรือล้มเลิกความตั้งใจที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น

ขอยกตัวอย่างเรื่องการคุยกันในห้องเรียนแล้วครูพยายามที่จะระงับการคุยกันนั้นไว้
ก่อนอื่นขอให้ทุกคนคิดก่อนว่าที่จริงครูบอกให้นักเรียนหยุดคุยด้วยเหตุผลอะไรและเพื่อใคร
ข้อนี้คำตอบของนายภิญโญอาจจะดูแปลกๆไปบ้างแต่ถ้าให้มองย้อนกลับมาถึงตัวตนของเราเองเราจะพบว่า คำตอบของนายภิญโญเป็นเรื่องที่ต้องนำมาใส่ใจมาก ซึ่งคำตอบของนายภิญโญต่อเรื่องนี้ก็คือ โดยมากแล้วครูที่ไทยบอกให้นักเรียนหยุดคุยเพื่อที่ตัวเองจะได้รับความสนใจมากขึ้นและครูทำไปเพื่อประโยชน์ของตัวครูเอง ครูจำนวนมากทำไปเพราะเห็นว่าที่คนคุยกันเป็นเรื่องที่ผิดมารยาทต่อครู ครูพวกนั้นมีความเห็นว่าเค้าอุตส่าห์มาสอน ดังนั้นพวกเค้าควรได้รับความสนใจมากกว่านี้ ครูจึงเผลอออกคำสั่งโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองต่อความถือตนของตัวเองโดยไม่รู้ตัว

แต่จริงๆแล้วครูควรที่จะออกคำสั่งโดยเหตุผลที่งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง และงดงามในท้ายที่สุดต่างหาก (Glorious in the beginning, glorious in the middle and glorious at the end) แล้วเหตุผลนั้นเป็นอย่างไรเล่า สำหรับกรณีนี้เหตุผลเหล่านั้นคือ ผลดีที่จะเกิดกับคนที่เงียบเอง คนรอบข้างของคนที่เงียบ และสังคมโดยรวมของคนที่เงียบ ถึงจุดนี้นายภิญโญก็จะขอแจกแจงเป็นข้อๆไปดังนี้
๑ การที่เค้ามานั่งเรียนนั้นก็เพื่อที่จะรับความรู้จากผู้สอน และนั่นเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะเงียบแล้วฟัง การคุยกันนั้นสามารถเก็บไว้ทำทีหลังได้ การคุยกันในเวลานี้จะทำให้เสียประโยชน์ในการรับรู้ไป หากคนเราคิดว่าการมานั่งเรียนไม่อาจทำให้เกิดประโยชน์ได้ แล้วจะมานั่งอยู่ที่ตรงนี้ไปทำไม

หากมานั่งอยู่ในชั้นเรียนแล้วกิจกรรมที่จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่อยู่ในชั้นเรียนมากที่สุดก็คือการตั้งใจฟังนั่นเอง

๒ ถ้าไม่มีคนคุยนอกเรื่องคนรอบข้างก็จะได้ประโยชน์เพราะจะไม่มีการรบกวนและสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนมากขึ้น
ข้อดีนี้เป็นข้อดีที่จะส่งผลให้คนที่ตัดสินใจเงียบได้รับประโยชน์ย้อนกลับมาเองด้วย เพราะสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมด้านการเรียนนั้น ก็คือสภาพห้องเรียนที่เค้าอยู่นั่นเอง

๓ หากการรู้จักฟังเมื่อควรฟังได้ถือไว้เป็นบรรทัดฐานของสังคมแล้ว อารมณ์ของการใช้ชีวิตของคนในสังคมก็จะดีขึ้นเพราะพวกเค้ารู้จักรับฟังมากขึ้น สิ่งนี้จะถูกขยายไปนอกชีวิตห้องเรียนและกลายเป็นวิถีชีวิตของผู้ที่รู้จักรับฟัง และนั่นจะลดความขัดแย้งในสังคมลงไปโดยอัตโนมัต

(วันนี้ขอพอแต่เท่านี้ก่อน เดี๋ยวมาเขียนต่อพร้อมกับเรียบเรียงข้อความข้างต้นใหม่)
ยกตัวอย่างเรื่อที่ต้องขอให้แจกแจงวิธีคิดออกมาถึงแม้ว่ามันจะผิดก็ตาม

Friday, September 02, 2005

[Thesis] Current Status

1. I have experimented with a lot of variation of the method and never think that optimization can reliably lead to good result. The following shows what I did and result:
1.1. Using bifurcation point of trachea as a reference point gives the same quality of aorta output as using carina. The most difficult part may be finding correct positions of two end points of model.
1.2. Using more model does not mean that we have better chance to succeed. This is really bad news. In CR003 case, using the first model give better output because it detects correct postions of the two end points, although the middle is not quite correct. Using only one model, however, induces high risk of failure.
1.3. Model selection method is not accurate when the image is not isotropic, I think. I must report this to Dr. Higgins.

2. Aortic arch region growing is good in some cases. I'd like to report this stuff honestly in my report. It is good when the edges are quite clear (16-detector cases for example) , but not good at all when the edge is not clear (h005). This suggests me to use allow new parameters for aorta. User shoud know if edges are clear enough or not.

[Dharma] The Five Skhandas

1. รูป 1.สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต หรือ ธาตุ ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ในขันธ์ ๕) 2.อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) 3.ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์


2. เวทนา
ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ ๑.สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย ๒.ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย ๓.อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา; อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ ๑.สุข สบายกาย ๒.ทุกข์ ไม่สบายกาย ๓.โสมนัส สบายใจ ๔.โทมนัส ไม่สบายใจ ๕.อุเบกขา เฉยๆ; ในภาษาไทย ใช้หมายความว่าเจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี

3. สัญญา
การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น; ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น ๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น

4. สังขาร ๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา

สังขาร ๒ คือ ๑.อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง ๒.อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง, โดยปริยายแปลว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือเพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัยเป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ชุมชนแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย


5. วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖ คือ ๑.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา(เห็น) ๒.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน) ๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก(ได้กลิ่น) ๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น(รู้รส) ๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย) ๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

Wednesday, July 20, 2005

Opinion: จากเรื่อง “สื่อลามก” โลกในหลุมดำของวัยโจ๋

อ่านเรื่องนี้แล้วไปสะดุดใจตรงที่ว่า
ไม่อยากให้เด็กหมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากเกินไป แต่ควรจัดกิจกรรม ออกกำลังกาย ดนตรี หรือสิ่งที่เขาชอบ

ในความเห็นของเรา เราคิดว่าทำอย่างนี้ไปก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก เพราะสิ่งที่จะทำให้คนเราลดกิจกรรมทางเพศได้จริงๆจังๆก็คือ การลดความโลภในความสุข เรามีความเห็นว่าเพราะคนเราโลภในความสุข จึงเิกิดการเสพติดพวกนี้ได้ง่าย กิจกรรมต่างๆถ้ายังมีจุดยืนคือการหาความสุขความบันเทิง มันก็จะไม่พาพวกเขาไปไหน เดี๋ยวก็ตกกลับมาเป็นแบบเดิม

เราควรสร้างที่พื้นฐานของการระงับความโลภในด้านนี้ เราควรให้ลดความประพฤติแบบสุขนิยมและวัตถุนิยมลงไป เพราะว่าโลกของเราในวันนี้เต็มไปด้วยปัญหา, ความทุกข์, และความขาดแคลน ถ้าเราไม่ระงับความโลภในสุข และความประพฤติแบบนั้นไป ปัญหามันก็จะพอกหนักขึ้นเรื่อยๆ ประชากรจะไม่ไมีคุณภาพ (อย่าลืมนะว่าความพอใจในการคือเครื่องขัดขวางปัญญาอันดับหนึ่ง) ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ รัฐเก็บรายได้ต่ำลง มีการเสียดุลการค้ามาก สุดท้ายก็จะวกกลับมาเป็นความขาดแคลนที่รุนแรง และลงเอยด้วยปัญหาสังคมเพราะผู้คนจะต้องแก่งแย่งมากขึ้นเพื่อทรัพยากรอันจำกัด

สรุป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สอนให้ระงับความปรารถนาในความสุข ลดการตามใจตนอันไม่นำไปสู่ความเจริญแห่งตน แล้วทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกมส์ออนไลน์ ปัญหาด้านเพศก็จะลดลงไปของมันเอง

อ้างอิง http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000096582

Sunday, July 10, 2005

Thesis: Constant Interval Control Points for PA

กลัวว่าจะทำหายแล้วต้องมานั่งคำนวณค่าใหม่ก็เลยมาลงไว้ที่บล็อกอีกเช่นเคย

int
PaModelBuilder::initPhase1H001( float* arControlPts ) {
float* b = arControlPts;

int nAdjust = -3;

/*** TRUNK ***/
b[ 4+nAdjust] = 136; b[ 5+nAdjust] = 123; b[ 6+nAdjust] = 108;
b[ 7+nAdjust] = 138; b[ 8+nAdjust] = 112; b[ 9+nAdjust] = 115;
b[10+nAdjust] = 140; b[11+nAdjust] = 101; b[12+nAdjust] = 124;
b[13+nAdjust] = 142; b[14+nAdjust] = 89; b[15+nAdjust] = 132;

/*** LEFT ***/
b[16+nAdjust] = 169; b[17+nAdjust] = 200; b[18+nAdjust] = 105;
b[19+nAdjust] = 157; b[20+nAdjust] = 192; b[21+nAdjust] = 97;
b[22+nAdjust] = 146; b[23+nAdjust] = 183; b[24+nAdjust] = 89;
b[25+nAdjust] = 137; b[26+nAdjust] = 169; b[27+nAdjust] = 84;
b[28+nAdjust] = 134; b[29+nAdjust] = 151; b[30+nAdjust] = 91;
b[31+nAdjust] = 133; b[32+nAdjust] = 136; b[33+nAdjust] = 103; //Bifurcation point

/*** RIGHT ***/
b[34+nAdjust] = 127; b[35+nAdjust] = 145; b[36+nAdjust] = 102;
b[37+nAdjust] = 121; b[38+nAdjust] = 153; b[39+nAdjust] = 104;
b[40+nAdjust] = 113; b[41+nAdjust] = 159; b[42+nAdjust] = 106;
b[43+nAdjust] = 104; b[44+nAdjust] = 165; b[45+nAdjust] = 108;
b[46+nAdjust] = 93; b[47+nAdjust] = 167; b[48+nAdjust] = 111;

return 15; //The number of control points.
}


int
PaModelBuilder::initPhase1H002( float* arControlPts ) {
float* b = arControlPts;

int nAdjust = -3;

/*** TRUNK ***/
b[ 4+nAdjust] = 148; b[ 5+nAdjust] = 132; b[ 6+nAdjust] = 147;
b[ 7+nAdjust] = 150; b[ 8+nAdjust] = 121; b[ 9+nAdjust] = 154;
b[10+nAdjust] = 152; b[11+nAdjust] = 111; b[12+nAdjust] = 161;
b[13+nAdjust] = 155; b[14+nAdjust] = 101; b[15+nAdjust] = 170;

/*** LEFT ***/
b[16+nAdjust] = 171; b[17+nAdjust] = 201; b[18+nAdjust] = 139;
b[19+nAdjust] = 165; b[20+nAdjust] = 195; b[21+nAdjust] = 132;
b[22+nAdjust] = 159; b[23+nAdjust] = 184; b[24+nAdjust] = 134;
b[25+nAdjust] = 153; b[26+nAdjust] = 171; b[27+nAdjust] = 135;
b[28+nAdjust] = 147; b[29+nAdjust] = 159; b[30+nAdjust] = 136;
b[31+nAdjust] = 146; b[32+nAdjust] = 145; b[33+nAdjust] = 141; //Bifurcation point

/*** RIGHT ***/
b[34+nAdjust] = 134; b[35+nAdjust] = 145; b[36+nAdjust] = 145;
b[37+nAdjust] = 127; b[38+nAdjust] = 151; b[39+nAdjust] = 149;
b[40+nAdjust] = 123; b[41+nAdjust] = 160; b[42+nAdjust] = 153;
b[43+nAdjust] = 115; b[44+nAdjust] = 166; b[45+nAdjust] = 156;
b[46+nAdjust] = 104; b[47+nAdjust] = 172; b[48+nAdjust] = 158;

return 15; //The number of control points.
}


int
PaModelBuilder::initPhase2H048( float* arControlPts ) {
float* b = arControlPts;

int nAdjust = -3;

/*** TRUNK ***/
b[ 4+nAdjust] = 163; b[ 5+nAdjust] = 128; b[ 6+nAdjust] = 104;
b[ 7+nAdjust] = 169; b[ 8+nAdjust] = 112; b[ 9+nAdjust] = 116;
b[10+nAdjust] = 174; b[11+nAdjust] = 100; b[12+nAdjust] = 133;
b[13+nAdjust] = 182; b[14+nAdjust] = 92; b[15+nAdjust] = 160;

/*** LEFT ***/
b[16+nAdjust] = 200; b[17+nAdjust] = 232; b[18+nAdjust] = 100;
b[19+nAdjust] = 189; b[20+nAdjust] = 220; b[21+nAdjust] = 93;
b[22+nAdjust] = 178; b[23+nAdjust] = 206; b[24+nAdjust] = 87;
b[25+nAdjust] = 167; b[26+nAdjust] = 190; b[27+nAdjust] = 87;
b[28+nAdjust] = 159; b[29+nAdjust] = 169; b[30+nAdjust] = 88;
b[31+nAdjust] = 157; b[32+nAdjust] = 149; b[33+nAdjust] = 97; //Bifurcation point

/*** RIGHT ***/
b[34+nAdjust] = 144; b[35+nAdjust] = 152; b[36+nAdjust] = 101;
b[37+nAdjust] = 134; b[38+nAdjust] = 157; b[39+nAdjust] = 106;
b[40+nAdjust] = 124; b[41+nAdjust] = 163; b[42+nAdjust] = 111;
b[43+nAdjust] = 115; b[44+nAdjust] = 167; b[45+nAdjust] = 117;
b[46+nAdjust] = 103; b[47+nAdjust] = 168; b[48+nAdjust] = 124;

return 15; //The number of control points.
}

Thesis: Variable Interval Control Points for Aorta

This is h001 case. It employs 15 control points

float* b = arControlPts;
int nAdjust = 0; //To adjust point order when we need to make ad hoc insertion/deletion.
// It will be set to zero in final version.

b[1+nAdjust]=96; b[2+nAdjust]=119; b[3+nAdjust]=130;
b[4+nAdjust]=87; b[5+nAdjust]=121; b[6+nAdjust]=113;
nAdjust = -3;
//b[7+nAdjust]=87; b[8+nAdjust]=126; b[9+nAdjust]= 89;
b[10+nAdjust]=90; b[11+nAdjust]=132; b[12+nAdjust]=75;
b[13+nAdjust]=97; b[14+nAdjust]=137; b[15+nAdjust]=63;

////////////

b[16+nAdjust]=103; b[17+nAdjust]=143; b[18+nAdjust]=51;
b[19+nAdjust]=111; b[20+nAdjust]=150; b[21+nAdjust]=43;
b[22+nAdjust]=138; b[23+nAdjust]=174; b[24+nAdjust]=32;
//b[25+nAdjust]=129; b[26+nAdjust]=164; b[27+nAdjust]=36;
nAdjust = -6;
b[28+nAdjust]=150; b[29+nAdjust]=187; b[30+nAdjust]=35;

////////////

b[31+nAdjust]=154; b[32+nAdjust]=207; b[33+nAdjust]=36;
b[34+nAdjust]=156; b[35+nAdjust]=219; b[36+nAdjust]=46;
b[37+nAdjust]=153; b[38+nAdjust]=223; b[39+nAdjust]=58;
b[40+nAdjust]=149; b[41+nAdjust]=230; b[42+nAdjust]=70;
b[43+nAdjust]=143; b[44+nAdjust]=234; b[45+nAdjust]=89;
b[46+nAdjust]=136; b[47+nAdjust]=232; b[48+nAdjust]=123;
b[49+nAdjust]=137; b[50+nAdjust]=219; b[51+nAdjust]=240;

return 15; //The number of control points.

The following is variable interval control points with 22 control points

float* b = arControlPts;
int nAdjust = 0; //To adjust point order when we need to make ad hoc insertion/deletion.
// It will be set to zero in final version.

b[1+nAdjust]=96; b[2+nAdjust]=119; b[3+nAdjust]=130;
b[4+nAdjust]=87; b[5+nAdjust]=121; b[6+nAdjust]=113;
b[7+nAdjust]=87; b[8+nAdjust]=126; b[9+nAdjust]= 89;
b[10+nAdjust]=90; b[11+nAdjust]=132; b[12+nAdjust]=75;
b[13+nAdjust]=97; b[14+nAdjust]=137; b[15+nAdjust]=63;

////////////

b[16+nAdjust]=103; b[17+nAdjust]=143; b[18+nAdjust]=51;
b[19+nAdjust]=111; b[20+nAdjust]=150; b[21+nAdjust]=43;
b[25+nAdjust]=129; b[26+nAdjust]=164; b[27+nAdjust]=36;
b[22+nAdjust]=138; b[23+nAdjust]=174; b[24+nAdjust]=32;
b[28+nAdjust]=150; b[29+nAdjust]=187; b[30+nAdjust]=35;

////////////

b[31+nAdjust]=154; b[32+nAdjust]=207; b[33+nAdjust]=36;
b[34+nAdjust]=156; b[35+nAdjust]=219; b[36+nAdjust]=46;
b[37+nAdjust]=153; b[38+nAdjust]=223; b[39+nAdjust]=58;
b[40+nAdjust]=149; b[41+nAdjust]=230; b[42+nAdjust]=70;
b[43+nAdjust]=143; b[44+nAdjust]=234; b[45+nAdjust]=89;

b[46+nAdjust]=140; b[47+nAdjust]=234; b[48+nAdjust]=100;
b[49+nAdjust]=136; b[50+nAdjust]=232; b[51+nAdjust]=123;
b[52+nAdjust]=135; b[53+nAdjust]=229; b[54+nAdjust]=150;
b[55+nAdjust]=136; b[56+nAdjust]=228; b[57+nAdjust]=171;
b[58+nAdjust]=137; b[59+nAdjust]=226; b[60+nAdjust]=194;

b[61+nAdjust]=139; b[62+nAdjust]=223; b[63+nAdjust]=215;
b[64+nAdjust]=137; b[65+nAdjust]=219; b[66+nAdjust]=240;

return 22; //The number of control points.

Friday, July 08, 2005

Technic: ซอฟต์แวร์ที่ใช้แทน Norton Commander

โปรแกรม File Manger ที่ใช้แทน File Explorer ของวินโดวส์มันมีมากจริงๆ ดูได้จากลิสต์ที่ Wikipedia

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_file_managers

สังเกตให้ดีว่าทั้งที่คนใช้ Mac มากพอสมควรแต่กลับมีออกมาเพิ่มแค่ตัวเดียว แสดงว่าที่ติดมากกับ Mac เลยก็คงจะมีดีพอสมควร ส่วนลินิกซ์มันมีให้เลือกมากเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว

ของวินโดวส์ที่เราไปดูมากมีที่ดูเตะตาจริงๆอยู่แค่ตัวเดียวคือ Servant Salamander 2.5
http://en.wikipedia.org/wiki/Servant_Salamander
http://www.altap.cz/

เท่าที่ดูแล้วมันถูกที่สุด และดีที่สุด

Technic: จัดการระบบฐานความรู้ยังไงดี

วันนี้คิดว่าเราน่าจะจัดการระบบฐานความรู้เพื่อการสร้าง ใช้สอย บูรณะ และ ถ่ายทอด ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ให้ได้ แต่ก็ยังไม่ลงตัวว่าควรจะทำยังไงดีบ้างจึงจะได้ผลดีและสะดวก

สำหรับองค์ประกอบก็คิดว่ามันน่าจะมีของอยู่หลายๆส่วนด้วยกันดังนี้
  1. การสำรองไฟล์ข้อมูล
    • การสำเนาข้อมูลที่เขียนลงในกระดาษ (สแกนเข้ามา)
    • การทำดัชนีชื้ถึงความรู้ที่เข้าถึงบ่อยๆเช่น source code
    • การรวบรวม reference (เช่น ลิงค์ไปที่สำคัญๆ)
      3 กับ 4 ในภาพรวมก็คือพวกเดียวกัน
    • ระบบการจัดเก็บเอกสารและงานของตัวเอง
    • ระบบเวอร์ชันคอนโทรล (CVS หรือ Version Cue ทำนองเนี้ย)
    • การบันทึกความรู้ที่ได้รับเข้ามาใหม่ น่าจะมีเป็นเวอร์ชัน ร่าง พรีวิว และ รีวิว
    • การแสดงความรู้ของตัวเองเพื่อให้เข้าถึงง่ายๆ ค้นหา จัดหมวด และ เอาขึ้นเว็บ

    • คิดว่าจะทำข้อมูลเกี่ยวกับงานออกเป็นหลายๆกลุ่มคือ กลุ่มซอร์สโค้ด, กลุ่มอินพุต, กลุ่มเอาต์พุททดลอง, กลุ่มเอาต์พุทสำคัญ, กลุ่มเอกสารข้อความ, เอกสารรูปภาพ, เอกสารไดอะแกรม, เอกสารฐานข้อมูล (พวกเอ็กเซลทำนองนั้น), กลุ่มไบนารีและเอกสารของไบนารีนั้น (พวกของที่ไปดาวน์โหลดมา)

    • พวกของพวกนั้นจะแบ่งออกเป็นสี่ช่วงคือ Whimsical (ร่างแบบมั่วๆเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น) Developing (เริ่มรู้แล้วว่าจะเอาอะไรและจะทำยังไง) Preview (เสร็จแล้วแต่ว่ายังไม่ได้ตรวจทานอย่างเป็นระบบ) และ Reviewed (ตรวจทานแล้ว)

      จริงๆแล้วการพัฒนาจะกระทำที่ไดเรกทอรี Whimsical และเมื่อเริ่มรู้แล้วว่าจะใช้อะไรบ้างและไม่ใช้อะไรบ้างก็จะก๊อปส่วนที่คิดว่าจะได้ใช้ไปใส่ที่ Developing การสำรองข้อมูลจะกระทำที่ตรงนี้เป็นหลัก การแยกออกมาเป็นสองส่วนนี้ก็เพราะว่า หากเราสำรองข้อมูลจาก Whimsical state มาไว้ เราจะงงตอนที่เราจะกลับมาเอา เพราะไม่รู้ว่าจะเอาอันไหนดี มันปนกันไปหมด จึงต้องแยกเอาพวกเนื้อๆออกมาสำรอง การสำรองข้อมูลของกลุ่มนี้

      ส่วน Preview คือเวอร์ชันที่ถึงจุดสำคัญๆ (milestone) แต่ก็ยังไม่ได้ตรวจดูดีๆว่าเป็นไงบ้าง ถูกต้องหมดหรือไม่ ส่วน Reviewed คือเวอร์ชันที่เรียกได้ว่าเอาไปส่งให้สาธารณะชนดูได้แล้ว

    • โครงสร้าง Workspace จะถูกแบ่งออกไปตาม software ที่ใช้ ไม่ใช่เป็นไปตามโปรเจ็ค ดังนั้นถ้าโปรเจ็คไหนที่ดันใช้หลายโปรแกรมพัฒนาหน่อยก็จะยุ่งๆหน่อยนะ

    • โง้ว แต่ว่าพวกอินพุตเอาต์พุตและเอกสารประกอบโปรแกรมนี่สิทำจั๋งได๋ดีล่ะ เพราะว่าตอนพัฒนาเราก็น่าจะเขียนเป็นพาธใส่ไปอาจจะยุ่งๆมั่วๆงงๆซึ่งเราคงยอมไม่ได้

      อ๊ะรู้วิธีแก้แล้ว เราควรจะจัดการปัญหานี้ด้วยการเปลี่ยนวิธีทำงาน ในทุกๆโปรเจ็คที่ทำเราจะมี static variables ไว้ทำหน้าที่่เป็นสตริงเพื่อบอก base input/output dir เสมอ วิธีนี้น่าจะใช้ได้ดีนะ

    • แล้วพวก snippet ล่ะ จะทำยังไงดี (หมายเหตุ snippet หมายความรวมถึง procedure ต่างๆเกี่ยวกับเครื่องมือด้วย)
      อืม พวกนี้ต้องมีทั้งเวอร์ชัน รีวิว/รวมศูนย์ และ เวอร์ชันกระจัดกระจาย เวอร์ชันกระจัดกระจายคือพวกที่ทำแบบลวกๆซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนา โดยจะใส่ไว้ใน ไดเรกทอรีของใครก็ได้ไม่เกี่ยง ส่วนเวอร์ชันแบบรีิวิวนี้จะถูกจัดทำขึ้นแบบ HTML และจะอัพโหลดขึ้นเว็บส่วนตัวเป็นการ publish ไปเลย

      การรีวิวจะทำขึ้นทุกวันอังคารและวันศุกร์คิดซะว่าเป็นการจัดห้องใหม่ แม้แต่ snippet เองก็มีสองเวอร์ชันคือ whimsical และ reviewed และใน whimsical จะมีที่เก็บโค้ดสอบตกกับโค้ดที่สอบผ่าน และโค้ดที่ยังไม่ได้ review

    • เอ้า วกกลับมาเรื่องเอาต์พุตหน่อย เอาต์พุตจะแบ่งไปตามโปรเจ็คและสถานะของมัน โดยที่เอาต์พุตจะมีสามสถานะคือ Whimsical, Maybe and Major ถ้าหาก Output มันดูพอใช้ได้เราจะก๊อปปี้มันไปใส่ไว้ที่ Maybe เผื่ออ้างอิงไว้ในอนาคต และ พอถึงสถานะสำคัญ เช่น จะเอาไปใส่ใน Thesis เราจะเอาไปใส่ไว้ใน Major

    • เรื่องรายงานเราจะแบ่งมันไปตามโปรเจ็ค ภายในไดเรกทอรีรายงานจะแบ่งได้ออกเป็นสามส่วน คือ
      Text, Figures, Diagrams (สภาพที่อีดิตได้ก่อนจะกลายเป็น figures), Databases, Whimsical(ข้างในมี figures, diagrams และ databases), Backup, และ OutsideFiles

      อย่าลืมนะพวก OutsidFiles เราจะไม่ก๊อปไปไว้หลายที่เป็นอันขาด แต่จะทำด้วยการสร้าง link ไปหามันแทน แต่จะมีการทำ Backup แบบรวมศูนย์ไว้ด้วย แต่จะไม่ใช้ที่ตรงนั้นเป็นที่อ้างอิง

      หมายเหตุ หากเป็นข้อความที่สแกนมาจากสมุดตัวเอง ก็ให้เก็บไว้ใน Text ไม่ใช่ Figures

    • พวก reference ทำไงดี ทำเป็น Tree-like menu ใน HTML/Java script เอาก็แล้วกัน สิ่งที่สำคัญก็คือมันจะต้องสามารถชี้ไปที่เอกสารสำคัญบนฮาร์ดดิสก์เราได้ด้วย ซึ่งก็อาจจะทำได้โดยการใส่ base dir ไว้นั่นเอง ส่วนมากก็คือ ลิงค์ไปที่ต่างๆนั่นเอง

      พวกลิงค์นั้น จะอยู่ในกลุ่ม Unsorted หมด จนกว่าจะมีการเรียกใช้ในภายหลังจริง ที่เราทำเช่นนี้ก็เพราะว่าหลายครั้งแล้วที่เราเก็บลิงค์ที่ไม่เคยเข้าไปใช้ไว้มากเหลือเกิน ทำให้เข้าถึงลิงค์ที่ยากเข้าจริงๆลำบากเพราะมันไปเกะกะกันไปหมด

    • ที่เราเลิกใช้บล็อกเป็นแหล่งหลัก ก็เพราะว่าพอนานๆเข้าไปเราก็หาไม่ค่อยเจอเหมือนกัน สงสัยเหมือนกันว่าทำไมเรา search blog ของตัวเองบนเครื่องเราไม่ได้ แต่ดัน search blog ของคนอื่นได้หน้าตาเฉย แถมเวลาใช้เครื่องอื่นก็ดัน search ได้อีกเช่นเดียวกัน งง

      สรุปก็คือการใช้บล็อกยังคงมีอยู่เพื่อเป็น buffer ก่อน review ดังนั้น blog ของเราจะต้องถูกรื่อมาหใหม่หมด แล้วก็จะถูก mark [Reviewed or Unreviewed] ไว้

    • ให้มีไดเรกทอรี Package สำหรับงานที่ส่งมอบด้วย โดยจัดเป็นชุดพร้อมเอกสาร โดยจะมีสองเวอร์ชัน
      1. ToCustomer จะมีแต่ของที่ลูกค้าต้องการจริงๆ
      2. ForReference จะก๊อปปี้ทุกอย่างมาไว้เท่าที่เป็นไปได้ เผื่อว่าฉุกเฉิน

    • พวกเอกสารจะมีกลุ่มที่เป็นความรู้ใหม่ด้วย ยังไม่ได้รับการรีวิวก็ให้ไปทำแบบคล้ายๆกัน โดยเริ่มไปที่ Whimsical, Preview and Reviewed เช่นกัน เอาไปใส่ที่ไดเรกทอรี NewKnowledge โดยที่พวกที่ออกจากสถานะ Preview จะไปที่ Review นั้นก็ให้จัดหมวดหมู่ภายหลังจากนั้น

    • จำไว้ให้ดีว่าเราอยากเอาความรู้เราขึ้นเว็บอย่างแรงกล้า และมีการจัดหมวดหมู่อย่างเรียบร้อยสวยงามนะ

    • เราจะเริ่มที่งานของไทยคลับก่อนละกัน คิดว่า DreamWeaver เราต้องเปลี่ยนไปใช้แบบ FTP แล้วล่ะ มันไม่ยอมให้เราใช้ SAMBA Path ผ่านทางเว็บแล้ว

    (นอกเรื่อง พึ่งสังเกตว่ามันมีปุ่ม "Add Image" ใน Blogger มาให้ด้วยแฮะ ลองใช้ดูหน่อยนะ)











    เอิ้ว ใช้งานได้ดีจริงๆ

    Thursday, July 07, 2005

    Constant Interval Control Points for Aorta

    กลัวว่าจะทำอะไรผิดพลาดแล้วหาข้อมูลเก่าไม่เจอ
    อันนี้เป็นของ Aorta นะ

    int nColAdjust = 104;
    int nRowAdjust = 189;
    int nSlcAdjust = 75;

    int
    AortaModelBuilder::initPhase1H001( float* arControlPts ) {
    float* b = arControlPts;
    int nAdjust = 0; //To adjust point order when we need to make ad hoc insertion/deletion.
    // It will be set to zero in final version.

    b[1+nAdjust]=96; b[2+nAdjust]=119; b[3+nAdjust]=130;
    b[4+nAdjust]=87; b[5+nAdjust]=122; b[6+nAdjust]=104;
    b[7+nAdjust]=89; b[8+nAdjust]=130; b[9+nAdjust]=76;
    b[10+nAdjust]=98; b[11+nAdjust]=139; b[12+nAdjust]=57;
    b[13+nAdjust]=111; b[14+nAdjust]=149; b[15+nAdjust]=42;

    ////////////

    b[16+nAdjust]=128; b[17+nAdjust]=163; b[18+nAdjust]=35;
    b[19+nAdjust]=142; b[20+nAdjust]=180; b[21+nAdjust]=32;
    b[25+nAdjust]=153; b[26+nAdjust]=205; b[27+nAdjust]=38;
    b[22+nAdjust]=152; b[23+nAdjust]=222; b[24+nAdjust]=55;
    b[28+nAdjust]=146; b[29+nAdjust]=230; b[30+nAdjust]=79;

    ////////////

    b[31+nAdjust]=139; b[32+nAdjust]=232; b[33+nAdjust]=106;
    b[34+nAdjust]=136; b[35+nAdjust]=230; b[36+nAdjust]=139;
    b[37+nAdjust]=136; b[38+nAdjust]=227; b[39+nAdjust]=173;
    b[40+nAdjust]=136; b[41+nAdjust]=223; b[42+nAdjust]=207;
    b[43+nAdjust]=137; b[44+nAdjust]=219; b[45+nAdjust]=240;

    return 15; //The number of control points.
    }



    int nColAdjust = 110;
    int nRowAdjust = 195;
    int nSlcAdjust = 80;

    int
    AortaModelBuilder::initPhase1H002( float* arControlPts ) {
    float* b = arControlPts;
    int nAdjust = 0; //To adjust point order when we need to make ad hoc insertion/deletion.
    // It will be set to zero in final version.

    b[1+nAdjust]=112; b[2+nAdjust]=134; b[3+nAdjust]=147;
    b[4+nAdjust]=106; b[5+nAdjust]=135; b[6+nAdjust]=129;
    b[7+nAdjust]=108; b[8+nAdjust]=141; b[9+nAdjust]=113;
    b[10+nAdjust]=117; b[11+nAdjust]=146; b[12+nAdjust]=101;
    b[13+nAdjust]=126; b[14+nAdjust]=153; b[15+nAdjust]=90;

    ////////////

    b[16+nAdjust]=136; b[17+nAdjust]=168; b[18+nAdjust]=88;
    b[19+nAdjust]=141; b[20+nAdjust]=169; b[21+nAdjust]=86;
    b[25+nAdjust]=144; b[26+nAdjust]=184; b[27+nAdjust]=93;
    b[22+nAdjust]=149; b[23+nAdjust]=198; b[24+nAdjust]=101;
    b[28+nAdjust]=152; b[29+nAdjust]=208; b[30+nAdjust]=114;

    ////////////

    b[31+nAdjust]=153; b[32+nAdjust]=216; b[33+nAdjust]=130;
    b[34+nAdjust]=149; b[35+nAdjust]=221; b[36+nAdjust]=147;
    b[37+nAdjust]=146; b[38+nAdjust]=222; b[39+nAdjust]=170;
    b[40+nAdjust]=145; b[41+nAdjust]=223; b[42+nAdjust]=194;
    b[43+nAdjust]=144; b[44+nAdjust]=224; b[45+nAdjust]=219;

    return 15; //The number of control points.
    }


    int
    AortaModelBuilder::initPhase2H048( float* arControlPts ) {
    float* b = arControlPts;
    int nAdjust = 0; //To adjust point order when we need to make ad hoc insertion/deletion.
    // It will be set to zero in final version.

    b[1+nAdjust]=122; b[2+nAdjust]=120; b[3+nAdjust]=123;
    b[4+nAdjust]=120; b[5+nAdjust]=118; b[6+nAdjust]=95;
    b[7+nAdjust]=122; b[8+nAdjust]=122; b[9+nAdjust]=67;
    b[10+nAdjust]=126; b[11+nAdjust]=134; b[12+nAdjust]=49;
    b[13+nAdjust]=134; b[14+nAdjust]=151; b[15+nAdjust]=39;

    ////////////

    b[16+nAdjust]=137; b[17+nAdjust]=157; b[18+nAdjust]=39;
    b[19+nAdjust]=145; b[20+nAdjust]=181; b[21+nAdjust]=37;
    b[25+nAdjust]=150; b[26+nAdjust]=204; b[27+nAdjust]=43;
    b[22+nAdjust]=152; b[23+nAdjust]=221; b[24+nAdjust]=56;
    b[28+nAdjust]=152; b[29+nAdjust]=232; b[30+nAdjust]=75;

    ////////////

    b[31+nAdjust]=151; b[32+nAdjust]=241; b[33+nAdjust]=99;
    b[34+nAdjust]=149; b[35+nAdjust]=244; b[36+nAdjust]=128;
    b[37+nAdjust]=148; b[38+nAdjust]=244; b[39+nAdjust]=161;
    b[40+nAdjust]=146; b[41+nAdjust]=242; b[42+nAdjust]=191;
    b[43+nAdjust]=143; b[44+nAdjust]=240; b[45+nAdjust]=219;

    return 15; //The number of control points.
    }

    Sunday, June 19, 2005

    เทคนิค: Reference and Cross Reference and Tables of Content in Microsoft Word

    1. ทำการสร้างสารบัญ
      จำทำสารบัญสำเร็จได้เวลาพิมพ์เราก็ต้องแบ่งประเภทฟ้อนต์ออกเป็น Heading 1 และ Heading 2 ไม่งั้นจะเป็นเรื่องยุ่งขึ้นมาได้ทันที การใช้ heading 2 จะทำให้มันกลายเป็นหัวข้อรองไปในทันที

      เมื่อมีการเรียกใช้หัวข้อของพวกนี้เสร็จแล้ว ก็หาที่เหมาะๆแล้วใส่สารบัญเข้าไปได้เลย ด้วยการไปที่
      insert -> reference -> Index and Tables จากนั้นก็ไปที่แท็บ Table of Contents แล้วเลือกรูปแบบตามที่เราอยากให้มันเป็น

    2. การทำหมายเลขบท (chapter)
      การทำหมายเลขบทเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะไม่อย่างนั้นเราจะพบว่าเวลาที่เราใส่ caption ให้กับรูปหรือตารางมันจะไม่แสดงแสดงเลขบทที่ถูกต้องออกมา เพราะมันไม่รู้ว่าขณะนี้อยู่ในบทที่เท่าไหร่ อย่างไรก็ตามการทำสารบัญไม่จำเป็นต้องใส่หมายเลขบทก็ได้ เพราะว่าสารบัญจะตรวจดูเฉพาะลักษณะของตัวอักษรเท่านั้น

      ขั้นตอนการทำหมายเลขบทก็คือการใส่หมายเลขเข้าไปแบบธรรมดา ขอให้รู้เพิ่มเติมด้วยว่าหากเราต้องการที่จะเปลี่ยนรูปแบบการแสดงหมายเลขบท เป็นต้นว่าแทนที่จะแสดงตัวเลขเฉยๆ แต่ต้องการแสดงเป็น Chapter 1. แทน ในลักษณะเช่นนั้นเราก็ต้องทำการ customize รูปแบบเองซึ่งทำได้ไม่ยาก

      หมายเหตุ การนับเลขบทยังสามารถที่จะนับต่อจากที่นับไว้ก่อนหน้าได้ ทำให้เราสามารถแก้ไขมันได้ ภายหลังจากที่ได้พิมพ์แบบตรงๆดื้อๆไปเยอะ

    3. การทำให้หัวชื่อของรูปหรือตาราง (Caption) สามารถไปปรากฏที่สารบัญภาพและตาราง
      เรื่องนี้ทำได้ง่ายๆตรงไปตรงมา นั่นก็คือ เราจะต้องทำการใส่ชื่อ (Caption) ให้กับรูปหรือตารางเข้าไป โดยการที่คลิกไปที่รูปก่อน จากนั้นก็ไปที่ insert->reference->caption

      เมื่อใส่ชื่อเข้าไปแล้วก็เลือกที่เหมาะๆแล้วก็ inert->reference-> Index and Tables จากนั้นก็ไปที่ Table of Figures แล้วเลือกรูปแบบสารบัญภาพ / ตารางตามความต้องการ

    4. การทำการอ้างอิงไปตรง Reference/Bibliography
      มันต้องเริ่มจากการที่เราใส่หมายเลขของหนังสือหรือบทความเข้าไปก่อนนะ โดยใส่เข้าไปตามปรกติเหมือนกับที่ทำหมายเลขบทนั่นแหละ

      เมื่อใส่หมายเลขเข้าไปแล้วเราก็พร้อมที่จะทำการอ้างอิง โดยไปที่ insert->reference->cross-reference แล้วเลือก "Numbered item"

    5. เรื่องไม่ค่อยดีเกี่ยวกับฟีทเจอร์สารบัญ
      เราพบว่าบางครั้งถ้ารูปเรามันบังเอิญไปเกี่ยวพันกับลักษณะอักษรที่เป็น Heading เมื่อไหร่ มันจะถูกเอาไปใส่ในสารบัญด้วย ทั้งๆที่มันเป็นรูป ในกรณีเช่นนี้ เราจะต้องทำการเปลี่ยนรูปแบบกลับไปเป็น Body text ให้ได้

      แต่ปัญหาก็คือไม่รู้จะเปลี่ยนยังไงดี เพราะคลิกไปที่รูปแล้วกดเปลี่ยนมันก็ยังไม่ได้อีก อาการเช่นนี้ให้เราทำการไฮไลต์มันทั้งบริเวณก่อนและหลังรูป แล้วจัดการแก้เป็น body text ก็จะทำให้ทุกอย่างเสร็จไปได้

    6. อีกปัญหากับ caption
      บางทีเราพบว่า caption ที่เรามีอยู่มันแสดงผลแปลกๆของมันพยายามแก็ก็ไม่สำเร็จ ลักษณะเช่นนี้ขอให้ทำใจไว้เลยว่า "ลบอันเดิมออกเถอะ แล้วใส่อันใหม่เข้าไปแทนที่จะดีกว่านะ" ใส่ใหม่เถอะ เร็วกว่า